การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

ราชัญ สมทบ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา


ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพปัจจุบันการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


2. รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้  แนวทางการประเมินรูปแบบ  และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้


3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ พบว่า ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ของครู หลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับ


4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2557). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบล และอบต. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

ประเสริฐ บุญเรือง. (2563). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พรชัย เจดามาน, ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์, โชคชัย ยืนยง, ไพรฑูรย์ พิมดี, อัคพงศ์ สุขมาตย์ และ เจริญ สุขทรัพย์. (2566). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืนของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 168-186.

พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136, ตอนที่ 56 ก (30 เมษายน 2562).

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรและการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์ (2556). การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบัณฑิตไทยในศตวรรษที่ 21 และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ไมตรี บุญทศ. (2554). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะครูผู้สอนในศูนย์เครือข่ายตลิ่งชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2(;bทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2549). เกณฑมาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ .ศ. 2537. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อภิชาต รอดนิยม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M.., Srichan, P. W. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16

White, J. (2004). Crawling Out-Of-The-Box: 5 New Skills For 21st Century School Leaders. Retrieved September 2, 2021, Retrieved from http://the21stcenturyprincipal. blogspot.com/ 2012/12/crawling-out-of-box-5-new-skills-for.html