การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารสถานศึกษาตามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

สัญญา ใยยนต์
ชัชรินทร์ ชวนวัน
ธีระภัทร ประสมสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษาเรื่องการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารสถานศึกษาตามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง รวมจำนวน 144 คน คือ ผู้บริหาร 4 คน และข้าราชการครู 140 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการศึกษาพบว่า  โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จังหวัดแม่ฮ่องสอนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารสถานศึกษาตามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือสมรรถนะภาวะผู้นำ ,สมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัล, สมรรถนะการทำงานเป็นทีม, สมรรถนะพัฒนาทรัพยากรบุคคลและสมรรถนะการสื่อสาร แนวทางการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การบริหารสถานศึกษาตามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาคือ ควรบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม  ควรปรับเปลี่ยนทัศนคติการปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน ควรสร้างทีมงานเข้มแข็งและร่วมมือทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ควรสนับสนุนบุคลากรพัฒนาตนเอง ควรใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการสื่อสาร  ประชาสัมพันธ์ และ สร้างแบบประเมิน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงหาดไทย. (2564). คู่มือหลักเกณฑ์การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

ขวัญรุ่ง อยู่ใจเย็น. (2556). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1-9.

ทองคำ พิมพา. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทองดี พิมพ์สาลี. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอนานกยูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรวีร์ แพบัว. (2564). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 8(1), 55-68.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

พรชัย เจดามาน, ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์, โชคชัย ยืนยง, ไพรฑูรย์ พิมดี, อัคพงศ์ สุขมาตย์ และ เจริญ สุขทรัพย์. (2566). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษาในพลวัตศตวรรษที่ 21 สู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืนของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 168-186.

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา. แม่ฮ่องสอน: โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 22.

วิมลรัตน์ ศรีสำอาง. (2558). สมรรถนะหลักทางการบริหารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็น ของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 80-89.

สงบ อินทรมณี. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(1), 353-360.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2552. กันยายน 2551.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ. (2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวาน

กราฟฟิค.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2562). การศึกษาภควันตภาพเรียนได้ทุกหนทุกแห่งและทุกเวลา. แพร่: แพร่ไทยอุตสาหการพิมพ์.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M.., Srichan, P. W. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16