ปัจจัยของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ

Main Article Content

พวงเพ็ญ บุญผาสุก
สุทธาพัฒน์ อมรเรืองตระกูล
สุพัตรา จันทนะศิริ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาลักษณะทางประชากร การเปิดรับ ความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ 2) ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ ความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ แรงงานไทยอายุระหว่าง 18 – 39 ปี ที่สมัครไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ ซึ่งเคยเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ของกระทรวงแรงงาน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ วิเคราะห์การถดถอยแบบง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคุณ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อสังคมออนไลน์ที่มีค่าเฉลี่ยการเปิดรับข้อมูลสูงสุดเป็นอันดับแรก คือ แอปพลิเคชั่นไลน์ 2) ลักษณะทางประชากร ได้แก่ อายุ รายได้ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีการเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ที่แตกต่างกัน และจากผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่พบว่าไม่มีคู่ใดที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ความรู้เกี่ยวกับการไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ และทัศนคติต่อการไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีตามระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน. (2563). ข้อมูลสถิติคนหางานที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ(รายปี). สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565, จาก https://doe.go.th/prd/ overseas/statistic/param/site/149/cat/81/sub/0/pull/category/view/list-label

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก: https://www.mdes.go.th/

จุรีย์ พานทอง. (2558). ความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ ช่องทางในการรับรู้ข่าวสารและนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอปของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร(การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐกร มั่นจิตต์ และ กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์. (2563). แรงจูงใจของแรงงานไทยที่ต้องการไปทํางานในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างถูกกฎหมาย. วารสารการบริหารและจัดการ, 10(2), 14-27.

ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัทนียา ปรีชาธนาดุล. (2563). อิทธิพลของสื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อแมวมาเลี้ยงของคนวัยทำงาน.(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นันทินี พิศวิลัย. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์ www.ginraidee.comในเขตกรุงเทพมหานคร(การค้นคว้าอิสระ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิพร บุญมาก, นพดล สาลีโภชน์. (2562). นโยบายแรงงานต่างชาติในตลาดแรงงานทุติยภูมิของเกาหลีใต้. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11, 78-100.

สุภวัฒน์ สงวนงาม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกรับชมรายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น.

สิริพงษ์ สุวรรณประภักดิ์. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติและแรงจูงใจของประชาชนที่มีต่อการเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์ : กรณีศึกษาเว็บไซต์ 77 ข่าวเด็ด(วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริลักษณ์ อุบลรัศมี (2560). พฤติกรรมการเปิดรับรายการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพผ่านทางสื่อใหม่กรณีศึกษา รายการปักหมุดหยุดป่วย. (การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). ดิจิทัล) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สํานักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). การจัดการความรูจากทฤษฎีสูการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สํานักงาน ก.พ.ร.และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (8 มิถุนายน 2561). สื่อสังคมออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565. จาก:http://www.oic.go.th/ginfo/moreinfo.asp

Arffman, K. (2020). Promotional possibilities in LINE application for foreign tourism sector companies in South-Korea(Bachelor’s Thesis Degree). Haaga-Helia University of Applied Sciences.

Murphy, G., Murphy, L., & Newcomb, T. (1973). Experimental Social Psychology. New York: Research in Visuak and Environmental Education.

Norman, L. M. (1971). Introduction To Psychology. Boston: Hougston Miffin Company.