อิทธิพลการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้สายการบินไทยเส้นทางระหว่างประเทศหลังวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

นภาพร เนินสุวรรณ
สุทธาพัฒน์ โอมรเรืองตระกูล
สุพัตรา จันทนะศิริ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทย เส้นทางระหว่างประเทศของผู้โดยสารชาวไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทยเส้นทางบินระหว่างประเทศของผู้โดยสารชาวไทย จำแนกตามพฤติกรรมการใช้บริการ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทย เส้นทางบินระหว่างประเทศของผู้โดยสารชาวไทย การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางโดยสายการบินไทยเส้นทางระหว่างประเทศ จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ ANOVA


ผลการวิจัยพบว่า


1) ปัจจัยด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทยเส้นทางระหว่างประเทศ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทยเส้นทางบินระหว่างประเทศของผู้โดยสารชาวไทย จำแนกตามลักษณะพฤติกรรมการใช้บริการ ได้แก่ วัตถุประสงค์การเดินทาง ราคาบัตรโดยสาร ความถี่ในการใช้บริการ ช่วงเวลาที่ใช้บริการ ช่องทางการซื้อบัตรโดยสาร ผู้ร่วมเดินทาง ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทยเส้นทางระหว่างประเทศ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ พูลผล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสายการบินไทยสมายล์เส้นทางระหว่างประเทศของผู้โดยสารชาวไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

กุลธิดา กูลระวัง. (2565). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้โดยสารสายการบินไทยไลอ้อนแอร์โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลกรณีศึกษา เส้นทางการบินน่าน. วารสารวิชาการการบินการเดินทางและการบริการ, 1(2), 41-60.

ข้อมูลพื้นฐานของสายการบินไทย. (2565). สืบค้นที่ www.thaiairways.com/th_TH/ about_thai/ company_profile/index.page เมื่อ 19 ธันวาคม 2564

ธีรกิติ นวรัตน์ ณ อยุธยา (2564). การตลาดบริการแนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา, ภรสิษฐ์ จิราภรณ์, พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส, และภัทเรก ศรโชติ. (2563). นกปีกหัก: วิกฤต “อุตสาหกรรมการบินโลก” ในยุคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 จาก: https://forbesthailand.com /commentaries/insights

วิภาวี พฤทธิ์ และ ทรงพร หาญสันติ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการสายการบินไทยไลอ้อนแอร์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 152-163.

วีรยา ทยานุวัฒน์. (2563). คุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าภายในประเทศ กรณีศึกษา สายการบินนกแอร์(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาภรณ์ พลนิกร. (2560). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จุฬาโฮลิสติกพับลิชชิ่ง

สุมามาลย์ ปานคํา และ ณัฐยุพา ทิวากรโกมล. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำตั๋วเครื่องบินผ่านเว็บไซต์สายการบินนกแอร์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 507-520.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. (11th ed). New Jersey: Prentice-Hall.