การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะสำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

Main Article Content

ชูชีพ ประทุมเวียง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพ และ 3) เพื่อความคิดเห็นของชุดการสอนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักศึกษา 60 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เวลาที่ใช้ในการทดลอง คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในการทดลองใช้ชุดการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพ นักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 2 จำนวน 6 หน่วยการสอน แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพ แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยการสอนโดยใช้ชุดการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่า E.I. ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ชุดการสอนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูชั้นปีที่ 2 ทุกชุดมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.54/84.19 ซึ่งเป็นไปคามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา จากการใช้ชุดการสอนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะ มีค่าเท่ากับ 0.6832 แสดงว่านักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 68.32
3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 นักศึกษามีความคิดเห็นว่าชุดการสอนรายวิชาปรัชญาการศึกษาและความเป็นครูมืออาชีพโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ทั้งในภาพรวมทุกด้าน ภาพรวมรายด้าน และรายข้อมีความเหมาะสมในระดับมาก
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (enquiry-based learning) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนจะต้องแสวงหาหรือค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง รับผิดชอบในการวิเคราะห์และนำเสนอผลลัพธ์พร้อมหาหลักฐานเพื่อมาสนับสนุนความคิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวินท์ นนทรีกาญจน์. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง การใช้โปรแกรม Adobe Captivate เพื่อการฝึกอบรมครู. วารสารจันทรเกษมสาร, 20(38), 69 - 76.

ขวัญตา เจริญไชย. (2556). การพัฒนาการเรียนรู้เรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(49), 119 - 125.

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). กฎกระทรวงเกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและแนวปฏิบัติการเสนอหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา. อนุสารอุดมศึกษา, 48(527), 18 - 21.

คมไผ่ พรรณา. (2565). รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ระบบจำนวนจริง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5Es ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 661- 679.

เฉลิมพล มีชัย. (2565). การพัฒนาชุดการสอนรายวิชาหัวข้อพิเศษด้านนวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 4(2), 13-26.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2564). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านหลักสูตร ศาสตร์การสอนการสอนและเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 271 - 287.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2560). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ทางสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 331–342

ภูมิภควัจธ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมสื่อการสอน Read Learn Run (RLR) เป็นฐานในการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อที่พัฒนาการศึกษาไปสู่ Thailand 4. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 279 - 294.

ยุวพร ดวงศรี. (2561). การเรียนรู้แบบสืบเสาะ : กระบวนการเรียนรู้เพื่อปฏิรูปชั้นเรียน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 9(2), 371-382.

วาสนา กีรติจำเริญ. (2562). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13(3), 31 - 43.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี -. สฤษดิ์วงศ์.

สุธิดา ทองคำ. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา โดยการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการสืบเสาะแบบกลุ่ม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 33(2). 41-57.

อุทิศ คลองวะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 17(1), 98-112.

Brown, J. W. (1973). Instruction Technology, Media and Method. New York: McGraw-Hill.

Good, V. C. (1973). Dictionary of Education. (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Kammanee, T. (2019). Teaching Science. (23th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Khammani, T. (2018). Science of teaching: Body of knowledge for effective management of learningprocess. (18th ed.). Bangkok: Darnsutha Press.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.

Techakupt, P. (2002). Teaching and Learning That Focuses on Learners. Bangkok: The Master Group.