ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุพัตรา จันทนะศิริ
จรูญ ชำนาญไพร
ทิพย์ลาวัลย์ แก้วนิล
กวีพงษ์ หิรัญสี
เอกรินทร์ ช่วยนุกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยส่วนบุคคล และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลจะมีผลต่อการให้ความสำคัญขององค์ประกอบของแหล่งที่ท่องเที่ยว  การวิจัยนี้เป็นวิจัย เชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Snowball Technique กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีที่มีอายุ 55 ปี ขึ้นไป จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมทางสังคมศาสตร์  เพื่อหาค่า Chi-Square Test ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง มีอายุเฉลี่ย 65 ปี เป็นเพศหญิง มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง แหล่งรายได้ที่ใช้ในการท่องเที่ยว คือ ทำงานประจำและบำนาญของรัฐบาล ด้านสุขภาพมีปัญหาเพียงเล็กน้อย เหตุผลที่ไปท่องเที่ยวคือต้องการพักผ่อน ด้านพฤติกรรมพบว่านักท่องเที่ยวสูงอายุเลือกสถานที่ท่องเที่ยวด้วยตัวเองโดยใช้ข้อมูลจากเพื่อน และสื่อต่าง ๆ ในโซเชียลมีเดียในการตัดสินใจ ส่วนใหญ่จะเดินทางไปกับครอบครัว โดยรถยนต์ส่วนตัวในการท่องเที่ยวแต่ละครั้งจะซื้อของฝากประเภทของกินที่ขึ้นชื่อของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ 2) ด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ พบว่าระดับรายได้ที่แตกต่างกันมีผลต่อรูปแบบการเดินทาง 3) ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อการให้ความสำคัญขององค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวอย่างไร พบว่าลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ ระดับช่วงอายุ รายได้ และสุขภาพที่แตกต่างกันมีผลต่อการให้ความสำคัญในแต่ละขององค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561 – 2564 ของกรมการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2565. จากhttps://www.dot.go.th/storage/...99/5V7jtvCF7hvNiPXPU 7 MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554 ก). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554 ข). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กาญจนาวดี พวงชื่น และ แสงสรรค์ ภูมิสถาน. (2563). พฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่.วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 15(2) , 29-42.

ชยพจน์ ลีอนันต์. (2565). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(1), 147-155.

พัชรวรรณ วรพล. (2565). TAT Review การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565 จากhttps://www.tatreviewmagazine.com/article/community-based-tourism/.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2555). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

หนึ่งฤทัยรัตน์ กระจ่างพัฒนวงษ์ และอรอนงค์ พัวรัตน์อรุณกร. (2561). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(2), 34-51.

Boddy, C. R. (2016). Sample Size for Qualitative Research. Qualitative Market Research, 19(4), 426-432.

Kotler, P., & Keller, K. (2006). Marketing Management. (12th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Schiffman, L. G, & Kanuk, L. L. (1994). Consumer Behavior. (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Sombatpiboon, U., & Rabob, C. (2020). Logistics Management in Health Promotion Tourism For Elderly Tourists in Samutprakarn Province. Journal of Social Synergy, 11(2), 25-36.

Williams, C. C. (2021). Impacts of the coronavirus pandemic on Europe's Tourism industry: Addressing tourism enterprises and workers in the Undeclared economy. International Journal of Tourism Research, 23(1), 79-88.