การยอมรับเทคโนโลยีและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ : กรณีศึกษากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ และยังช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น การค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ การสั่งซื้อสินค้าโดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้าน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ : กรณีศึกษากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในจังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการวิเคราะห์เอกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือกลุ่ม Baby Boomers (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) จำนวน 30 คนที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์และอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี และปัจจัยด้านแรงจูงใจส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ : กรณีศึกษากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ (ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) ในจังหวัดชลบุรี เหตุผลที่ซื้อสินค้าออนไลน์ พบว่ามีความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า สินค้าบริโภคที่ซื้อคือ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ สินค้าอุปโภคที่ซื้อคือ เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ แอปพลิเคชั่นที่ซื้อสินค้า คือ Line Shop และ Facebook วิธีการชำระเงิน คือ การเก็บเงินปลายทาง และการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). New normal ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564 จาก http://www.dmh.go.th/ apps.
ชัชพัชร์ เตชะเกษมสุข และ ทิวา พาร์ค. (2564). ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าออนไลน์ของผู้บริโภค Generation X ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจและภาษ , 10(1), 66-79.
ธรรมรัตน์ สืบประยงค์ และ จรัญญา ปานเจริญ. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีและแรงจูงใจที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Mobile Application ซ้ำของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครช่วงสถานการณ์โควิค-19. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(2), 50-62.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ประวัติศาสตร์ใหม่ จำนวนผู้สูงอายุมากกว่าเด็กเป็นปีแรก. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563. จาก https://thaitgri.org/?p=39772 .
ศิริวรรณ เสรีรัตน และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหมฉบับปรับปรุงป 2552. กรุงเทพฯ :
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์. (2562). รายงานประจำปี 2562. (จำนวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ตโดยเฉลี่ยต่อวันรายเจเนอเรชั่น). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 จาก https://dl.parliament.go.th/ handle/20.500.13072/583686. 2565.
สุทิพย์ ประทุม และสรัญณี อุเส็นยาง. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรี, 6(1), 1-18.
อนาวิล ศักดิ์สูง, อัศนีย์ ณ น่านและฑัตษภร ศรีสุข. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 162-174.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th ed.) Edinburgh: Pearson.
Lovell, R. B. (1980). Adult learning. New York: Wiley & Son.
Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of Qualitative Research to The Validity of Intervention Research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.
Petri, H. L. (1981). Motivation Theory and Research. Belmont: Wadsworth.
Weiner, B. (1992). Human Motivation: Metaphors, Theories, and Research. New York: SAGE Publication.