สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1

Main Article Content

ขวัญสุดา อ่วมสะอาด
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 1 จำนวน 103 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน  และครู จำนวน 1 คนรวมทั้งสิ้น 206 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารตามแนวคิดของแนวคิดของเฮลรีเกล แจ็คสัน และสโลคัม  และมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


2. การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


3. สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลิสรา จิตรชญาวณิช.(2561). การศึกษาและความเป็นครูไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง หน้า 18-20 (20 มีนาคม 2562).

ฉัตรวีรยา ธนัชชาอัครสิริ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 781-798.

ธีระ รุญเจริญ. (2556). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : U.L.T. เพรสการพิมพ์.

นภารัตน์ หอเจริญ. (2561). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 1-11.

นุสรา พูลสุด. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 72-85.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 3 (19 สิงหาคม 2542).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (2563). การสังเคราะห์รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา 2563. สุพรรณบุรี: กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2563). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2562 (IMD2019). กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

อัญชุลีภรณ์ คำภิระ และ ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1318-1332

Hellriegel, D., Jackson, Susan, E., & Slocum, J. W. (2005) Management: A Competency-Based Approach. (10th ed.). Singapore: Thomson South-Western.

Krejcie, R. V., & Daryle, W. M. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.