ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พรพิชชา พริบไหว
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านการสื่อสารในภาวะวิฤต หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สถานการณ์จำลอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังใช้กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สถานการณ์จำลองเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนชาติตระการวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลกอุตรดิตถ์ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สถานการณ์จำลองเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านสื่อสารในภาวะวิกฤต 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สถานการณ์จำลอง และ 3) แบบประเมินความสามารถด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีความสามารถด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สถานการณ์จำลองทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ มีความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นภาวะวิกฤต ใช้ภาษาในการสื่อสารในภาวะวิกฤต ความรวดเร็วในการสื่อสาร และมีสติในการควบคุมสถานการณ์ อยู่ในระดับปานกลาง และมีความสามารถด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตทั้งจากจากภาวะวิกฤติอัคคีภัย ภาวะวิกฤตจากแผ่นดินไหว อยู่ในระดับปานกลาง 2. นักเรียนมีความสามารถด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้สถานการณ์จำลองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมวิชาการ. (2551). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.

จักรกฤษณ์ จันทะคุณ และคณะ. (2565). การพัฒนาแผนฝึกซ้อมอพยพแผ่นดินไหวของโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(1), 236-377.

ณัฐวดี พูลอำไภย์. (2556). การสื่อสารในภาวะวิกฤตของสภากาชาดไทยเพื่อบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยวิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทิศนา เขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดารัตน์ นคร. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สถานการณ์จำลองประกอบสื่อมัลติมีเดีย วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง English for Daily Life ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 2(6), 106-118.

ปรียาพร ทิพยสุข และยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2564). การพัฒนาทักษะด้านการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองเป็นฐาน. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 116-123.

ยุพิน บุญชูวงศ์ (2556). การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2564 จาก vwwv.pharmacy.cmiJ.ac.th/unit/unit_files/files.../2013-03-27เม.ย.56-new.doc

วิภาวี ไชยทองศรี. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการฟัง – พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้สถานการณ์จำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2537). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความวิตกกังวลในการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยจิตเวช ของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิริรัตน์ ถูวะสี. (2561). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้สถานการณ์จำลอง โรงเรียนบ้านกุดสะเทียนใหม่ศรีทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู, วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 4(1), 23-28.

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2553). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม การเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

เสริมศรี ลักษณศิริ. (2540). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.

ไสว ฟักขาว. (2544). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เอมพันธ์.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2537). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์

อินทิรา บุณยาทร. (2542). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Kathleen, F. B. (2017). Crisis communication a casebook approach. (5th ed.). New York:

Routledge.