การรับรู้ความเสี่ยงของผู้ใช้บริการนวัตกรรมทางการเงินธนาคารออนไลน์ ที่ส่งผลต่อความไว้วางใจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง ความไว้วางใจของผู้ใช้บริการนวัตกรรมทางการเงินธนาคารออนไลน์ และ 2) ศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงของผู้ใช้บริการนวัตกรรมทางการเงินธนาคารออนไลน์ที่ส่งผลต่อความไว้วางใจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ ผู้ที่ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินจากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต้องมีคุณสมบัติหลัก 3 ประการ คือ 1) ต้องเป็นคนไทยที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย 2) ต้องทำการลงทะเบียนเพื่อขอใช้บริการธนาคารดิจิทัลในเว็บไซต์ของธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และ 3) มีประสบการณ์การใช้บริการทางธุรกรรมการเงินผ่านธนาคารดิจิทัล จากธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศทั้งหมด ที่เป็นสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพื้นฐาน และสถิติอ้างอิงแบบมีพารามิเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความไว้วางใจของผู้ใช้บริการนวัตกรรมทางการเงินธนาคารออนไลน์ พบว่าผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคล แตกต่างกัน มีความไว้วางใจของผู้ใช้บริการนวัตกรรมทางการเงินธนาคารออนไลน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงของผู้ใช้บริการนวัตกรรมทางการเงินธนาคารออนไลน์ ที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย พบว่า การรับรู้ความเสี่ยงของผู้ใช้บริการนวัตกรรมทางการเงินธนาคารออนไลน์ ด้านการเงิน ด้านจิตวิทยาของการดำเนินงานของระบบ ด้านความเป็นส่วนตัว ด้านเวลา มีอิทธิพลทางบวกต่อความไว้วางใจธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณ.ชนม์ ประยูรวงศ์. (2564). การรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการเลือกใช้เทคโนโลยีทางการเงิน. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 13(1), 66-83.
ดวงใจ คงคาหลวง, พงษ์สันติ์ ตันหยง และ วัลลภา วิชะยะวงศ์. (2566). ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคอาหารออนไลน์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 308-326.
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์.
นิธิกานต์ วรรณเสริมสกุล, ดวงเดือน อาจสมบุญ, สิริจันทรา ทองจีน, พรพีชา โสดา และ วนิดา อ่อนละมัย. (2565). ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการโรงแรม เพื่อส่งผลดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 13-26.
วรัทยา ชินกรรม. (2560). พฤติกรรมและปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมของผู้ใช้บริการธนาคารออมสินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.
หนึ่งฤทัย ขนานแข็ง และ กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2562) การปรับตัวของสถาบันการเงินไทยเพื่อเป็นธนาคารดิจิทัล. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 376-388.
อณิยา ฉิมน้อย. (2559). National e-Payment กับการยกระดับศักยภาพของธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563
จาก https://gmlive.com.
Bourdeau, L. B. (2005). A New Examination of Service Loyalty: Identification of the Antecedents and Outcomes of Additional Loyalty Framework(Doctoral dissertation). Florida University.
Crawford, M., & Benedetto, A. D. (2014). New Products Management (11th ed.). New York: McGraw-Hill.
Dinev, T., & Hart, P. (2006). Internet Privacy Concerns and Social Awareness as Determinants of Intention to Transact. International Journal of Electronic Commerce, 10(2), 7-29.
Everard, A., & Galletta, D. F. (2005). How Presentation Flaws Affect Perceived Site Quality, Trust, and Intention to Purchase from an Online Store. Journal of Management Information Systems, 22(3), 55-96.
Lu, H. P., Hsu, C. L., & Hsu, H. Y. (2005). An Empirical Study of The Effect of Perceived Risk Upon Intention to Use Online Applications. Information Management & Computer Security, 13(2), 106-120.
Rogers, E. M. (1995). Lessons for Guidelines from the Diffusion of Innovations. The Joint Commission Journal on Quality Improvement, 21(7), 324-328.
Turban, E., Strauss, J., & Lai, L. (2012). Social Commerce. New York: Pearson Education.
Zou, Z. (2022). Research on New Media Marketing of Credit Card Business. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(2), 197–233.