ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจในยุคดิจิทัลส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจค้าส่ง ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี รเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจค้าส่ง ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มีการเก็บแบบสอบถาม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจำนวน 317 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับนวัตกรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจค้าส่ง ในภาพรวม จัดอยู่ในเกณฑ์มากที่สุดโดยเรียงลำดับดังนี้ ด้านสารสนเทศ ด้านกระบวนการ ด้านการวางแผน ด้านคน และด้านภาวะผู้นำ ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจค้าส่ง ในภาพรวม จัดอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านลูกค้า การเรียนรู้และพัฒนา ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเงิน
ผลการศึกษานวัตกรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานขององค์การเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านของผลการดำเนินงาน พบประเด็นสำคัญที่ว่านวัตกรรมทางธุรกิจด้านภาวะผู้นำและด้านคน ส่งผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเรียนรู้และพัฒนา ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การจะพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธุรกิจค้าส่ง เพื่อให้เกิดผลการดำเนินงานของธุรกิจประสบผลสำเร็จ ผู้นำหรือเจ้าของธุรกิจต้องใช้ทักษะการเป็นผู้นำมืออาชีพในการบริหารและจัดการองค์กรเพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการให้พนักงานได้รับเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลประโยชน์ต่อองค์กร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิราวรรณ วุฒิสวัสดิ์. (2557). พื้นฐานการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
จุฑาสกณภ์ บุญนำ, ประกอบ ใจมั่น และ กิตติกร สุนทรานุรักษ์. (2560). การดำเนินงานเพื่อประสิทธิภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9(2), 73-81.
ชูพงษ์ พันธุ์แดง. (2564) การจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(2), 44-53.
ณรงค์ศักดิ์ ธงอาษา, กิตติมา จึงสุวดี และ ธรรมวิมล สุขเสริม. (2565). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเป็นผู้ประกอบการ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมขององค์การที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ด้านการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1625-1639.
ดนัย เทียนพุฒ. (2550). ดัชนีวัดผลสำเร็จธุรกิจ. กรุงเทพฯ: ไทยเจริญการพิมพ์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
นพดล เหลืองภิรมย์. (2557). การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
นิธิกานต์ วรรณเสริมสกุล, ดวงเดือน อาจสมบุญ, สิริจันทรา ทองจีน, พรพีชา โสดา และ วนิดา อ่อนละมัย. (2565). ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการโรงแรม เพื่อส่งผลดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 13-26.
พสุ เดชะรินทร์. (2546). เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พสุ เดชะรินทร์. (2551). Balanced Scorecard รู้ลึกในการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
สถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประเภทการค้าส่ง ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้นจาก http://119.63.93.73/smephase3/ ReportViewer. aspx?Filename=Report1.
สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. (2546). การบริหารกลยุทธ์และผลสัมฤทธิ์ขององค์กรด้วยวิธี Balanced Scorecard. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สุมามาลย์ ปานคำ และ ภัคจิรา ชื่นโพธิ์กลาง. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้าน
คาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1120–1136.
อภิรดี สราญรมย์. (2565). คุณภาพการให้บริการส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคในการรับบริการสเตเคชั่น. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1740–1754.
Kaplan. R. S. (1996). The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action. New Jersey: Prentice Hall.
Gretzinger, S., Hinz, H., & Matiaske, W. (2010). Cooperation in Innovation Networks: The Case of Danish and German SMEs. Management Revue, 21(2), 193-216.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A Beginners Guide to Structural Equation Modeling. New York: Routledge
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.
Zou, Z. (2022). Research on New Media Marketing of Credit Card Business. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(2), 197–233.