อิทธิพลของความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพของสินค้าที่มีต่อความไว้วางใจและความจงรักภักดีของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์

Main Article Content

รัชชานนท์ ชัยเจริญ
ประพล เปรมทองสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์ คุณภาพของสินค้า ความไว้วางใจ และความจงรักภักดี 2) อิทธิพลทางตรงเชิงบวกของความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์ คุณภาพของสินค้า ที่มีต่อความไว้วางใจ และ3) อิทธิพลทางตรงเชิงบวกของความไว้วางใจที่มีต่อความจงรักภักดี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์ คุณภาพของสินค้า ความไว้วางใจ และความจงรักภักดี เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ เขตกรุงเทพและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 350 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์ คุณภาพของสินค้า ความไว้วางใจ และความจงรักภักดีของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ อยู่ในระดับมาก ทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05, 4.13, 4.12 และ 4.10 ตามลำดับ 2) ความปลอดภัยในการซื้อสินค้าออนไลน์ คุณภาพของสินค้า มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความไว้วางใจของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 และ3) ความไว้วางใจมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อสินค้าออนไลน์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.001 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ทำให้ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์สามารถนำข้อมูลจากงานวิจัยไปวางแผนพัฒนาการขายสินค้าออนไลน์ให้ตรงตามความต้องการผู้บริโภคได้เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคที่มาซื้อสินค้าออนไลน์เกิดความไว้วางใจและความจงรักภักดีต่อร้านค้าสินค้าออนไลน์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ รัตนปรีชาชัย และจรัญญา ปานเจริญ. (2564). ความไว้วางใจที่มีผลต่อความจงรักภักดี ในการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(4), 25-41.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ฉัตรชัย อินทสังข์, ศศิฉาย พิมพ์พรรค์ และ อภิ คำเพราะ. (2562). การรับรู้คุณภาพการบริการ: ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์บนการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(48), 1-12.

ธิดารัตน์ บัณฑิตภักดิ์ และ เสาวลักษณ์ กู้เจริญประสิทธิ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านทางแอปพลิเคชัน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(3), 15-30.

นิธิกานต์ วรรณเสริมสกุล, ดวงเดือน อาจสมบุญ, สิริจันทรา ทองจีน, พรพีชา โสดา และ วนิดา อ่อนละมัย. (2565). ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้ผู้ใช้บริการมาใช้บริการโรงแรม เพื่อส่งผลดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(2), 13-26.

สรัสนันท์ บุญมี, ธาดาธิเบศร์ ภูทอง และธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (2563). ปัจจัยต้นเหตุและผลกระทบของความไว้วางใจต่อแพลตฟอร์มโซเชี่ยลคอมเมิร์ซต่อความตั้งใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค: การวิเคราะห์ด้วย PLS-SEM. วารสารนิเทศศาสตร์, 38(2), 81-102.

สุมามาลย์ ปานคำ และ ภัคจิรา ชื่นโพธิ์กลาง. (2565). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าร้านคาเฟ่อเมซอนบนแอปพลิเคชันไลน์แมนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 1120–1136.

อภิรดี สราญรมย์. (2565). คุณภาพการให้บริการส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภคในการรับบริการสเตเคชั่น. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1740–1754.

Barra, C., Pressgrove, G., & Torres, E. (2018). Trust and Commitment in the Formation of Donor Loyalty. The Service Industries Journal, 38(5), 360-377.

Garvin, D. A. (1987). Competing on the Eight Dimensions of Quality. Harvard Business Review, 2(1), 101-109.

Kim, J. M., & Chung, N. (2011). The Effect of Perceived Trust on Electronic Commerce: Shopping Online for Tourism Products and Services in South Korea. Tourism Management, 32(2), 256-265.

Kline, R. B. (2016). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. (4th ed.). New York: The Guilford Press.

Pomponi, F., Fratocchi, L., & Tafuri, S. R. (2015). Trust Development and Horizontal Collaboration in Logistics: A Theory Based Evolutionary Framework. Supply Chain Management, 20(1), 253-263.

Yuan, K.-H., Wu, R., & Bentler, P. M. (2011). Ridge Structural Equation Modeling with Correlation Matrices for Ordinal and Continuous Data. The British Journal of Mathematical and Statistical Psychology, 64(1), 251-260.

Zou, Z. (2022). Research on New Media Marketing of Credit Card Business. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(2), 197–233.