ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับ คุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ

Main Article Content

วิกานดา จิรพุทธกร
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดของสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร และคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษาตามแนวคิดของคาสซิโอ เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนเหนือ จำนวน 76 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล สถานศึกษาละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน และ ครู 1 คน รวมทั้งสิ้น 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ เปลี่ยนแปลงทันการณ์ ใช้นวัตกรรมทำงาน กล้าตัดสินใจ สร้างสรรค์ความร่วมมือ คิดต่างอย่างสร้างสรรค์ คิดไปข้างหน้า และเห็นคุณค่าในตัวคน


2. คุณภาพชีวิตการทำงานของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ ความมั่นคงในงาน ความภาคภูมิใจ การพัฒนาเส้นทางอาชีพ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัย การมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสาร การมีสุขภาวะที่ดี และค่าตอบแทนที่ยุติธรรม


3. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู มีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา และเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารสถานศึกษาใช้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด. (2564). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 486-500.

วิไลพร ศรีอนันต์. (2561). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 14-24.

สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2561). แผนพัฒนาทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2561 - 2565). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2564-2569). กรุงเทพฯ: ส่วนนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2564). รายงานข้อมูลการย้ายสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กองการเจ้าหน้าที่.

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร. (2564). สมรรถนะประจำผู้บริหารกรุงเทพมหานคร. ใน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร, รายงานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 11/2563, (หน้า 14-16). กรุงเทพฯ: กองอัตรากำลัง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2563 (IMD 2020). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2563). แผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.

อภิชาติ นิลภาทย์. (2556). ความสุขในการทํางานกับสมรรถนะข้าราชการครูกรุงเทพมหานครสังกัดสํานักงานเขตบางพลัด. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 4(1), 1-12.

อันธิกา บุญเลิศ. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 441-454.

Cascio, W. F. (2003). Managing Human Resources: Productivity Quality of Work life Profits. New York: McGraw Hill.

Best, J. W. (1983). Research in Education. (4th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 608.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence Rather Than Intelligence. American Psychologist, 28(1), 57-83.