แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและตรวจสอบความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปปฏิบัติในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีกรอบแนวคิดการวิจัยเกี่ยวกับการกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ และการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้โรงเรียนสารวิทยาเป็นพื้นที่วิจัย โดยมีรายงานผลการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพประจำปีเป็นแหล่งข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณใช้ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 81 คน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ de Vaus เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ 50 แนวทางการดำเนินงาน และ 115 กิจกรรม และ (2) ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางการดำเนินงานของการบริหารจัดการด้านโครงสร้างองค์กร การจัดการ บุคลากร และการสนับสนุนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนสู่โรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑและวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. (2550, 16 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 24 ก.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย.
ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, วิมล โรมา, มุกดา สำนวนกลาง. (2561). คู่มือแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เจริญผล.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วชิระ เพ็งจันทร์ และ ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์. (2560). โมเดลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ V-shape. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2564. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2565, จาก http://www.eoffice.sesa01.go.th.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรวรรณ นามมนตรี. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. วารสารทันตาภิบาล, 29(1), 123-128.
Creswell, J., & Clark, V. P. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. (2nd ed.). California: Sage.
HLS-EU Comparative report of health literacy in eight EU member states. (2015). The European Health Literacy Project 2009-2012. Retrieved from; http://www.maastrichtu.
Johnson, R. B., & Onwuegbuzie, A. J. (2004). Mixed Methods Research: A Research Paradigm Whose Time Has Come. Educational Researcher, 33(7), 14-26.
World Health Organization. (1998). Health promotion glossary. Switzerland: World Health Organization.