การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ในชีวิตประจำวัน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
ในชีวิตประจำวัน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 18 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนการสอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นสอน ขั้นที่ 3 ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผลและมอบรางวัล การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของครูผู้สอนในการพัฒนาด้านการอ่านและการเขียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จ 2) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ด้านความพึงพอใจต่อการเรียนรู้เรื่อง การอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC มีค่าเฉลี่ย 4.55 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการ. (2541). การศึกษาศักยภาพเด็กไทยระยะที่ 1 (พ.ศ.2540). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่าน เร็วช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2550). 80 นวัตกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: โปรแกรม 82.
ณัฐสันต์ นันทวัฒน์. (2565). วัฒนธรรมไทยในศตวรรษที่ 21 กับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารธรรมวัตร, 3(1), 1-11.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญรอด โชติวชิรา. (2549). ทักษะภาษาไทยและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประสาท อิศรปรีดา. (2538). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: กราฟฟิคอาร์ต.
เปรมยุดา สุดจำ. (2565). การบูรณาการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชุมชนมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 10–17.
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาผู้นำ. วารสารธรรมวัตร, 2(2), 19 – 28.
ผจงวาด มูลแก้ว. (2547). แบบฝึกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
วรรณาภรณ์ พระเมเด, ไพศาล วรคํา และ อาทิตย ์อาจหาญ. (2562). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยเพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(3), 85–93.
วริษา จันทร์ลี. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สกุนตลา รัตนไพบูลย์วัฒนา และ สายสุดา เตียเจริญ. (2565). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 109–123.
สายสุดา เตียเจริญ และคณะ. (2565). การสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 1–20.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ระบบบริหารจัดการสอบ. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2565, จาก http://180.180.244.48/NT/ExamWeb/FrLogin.aspx.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุขจิตร มีชื่อ. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียน วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75–86.
Slavin, R. E. (1987). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. (2nd ed.). Massachsetts: Simon & Schuster.