MANA’S Model: รูปแบบการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

Main Article Content

มานะ ครุธาโรจน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 2) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใน 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลางและภาคตะวันออก เฉียงเหนือ จำนวน 77 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใน 4 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวม 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโรงเรียนและกระบวนการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่วนที่ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 8 เงื่อนไข 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีเยี่ยม 3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารโรงเรียนเมืองนครราชสีมาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2562). การคิดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

ดํารงค์ บุญกลาง. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(2), 163-175.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประหยัด พิมพา. (2561). การศึกษาไทยในปัจจุบัน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 7(1), 242-249.

เปรมยุดา สุดจำ. (2565). การบูรณาการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชุมชนมีส่วนร่วมตามหลักสังคหวัตถุ 4. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 10–17.

พรนพ พุกกะพันธ์. (2544). ภาวะผู้นำและแรงจูงใจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.

วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอํานาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2548). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุนตลา รัตนไพบูลย์วัฒนา และ สายสุดา เตียเจริญ. (2565). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , 5(1), 109–123.

สายสุดา เตียเจริญ และคณะ. (2565). การสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , 5(1), 1–20.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอแนะการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 -2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). ปฏิรูปการศึกษาปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุวัฒนพงษ์ ร่มศรี. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(2), 324-335.

อร่าม วัฒนะ. (2563). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 55-71.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75–86.