การพัฒนารูปแบบศูนย์วิจัยนวัตกรรมและฝึกอบรมเพื่อสืบสานภูมิปัญญาผู้สูงอายุสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

Main Article Content

อุทิศ บำรุงชีพ
พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา
อรพินท์ หลักแหลม
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
ปริญญา เรืองทิพย์
กนก พานทอง

บทคัดย่อ

ศูนย์ในการวิจัยนี้ คือ แหล่งรวมองค์ความรู้ที่เข้าถึงง่าย การค้นคว้าวิจัย การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์บนรากฐานภูมิปัญญา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีสำคัญยิ่งในการสืบสานภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ และนำไปสู่การศึกษาวิจัยในบทความนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดตั้งศูนย์ 2) พัฒนาและนำเสนอรูปแบบศูนย์วิจัยนวัตกรรมและการฝึกอบรมเพื่อสืบสานภูมิปัญญาสำหรับผู้สูงอายุสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสานวิธี ประกอบด้วย สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 410 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 ท่าน ตามกระบวนการวิจัยแบบ EDFR และสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และวิเคราะห์เนื้อหา ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ได้แก่


1. สภาพปัจจุบัน และความต้องการจำเป็นของกระบวนการสืบสานภูมิปัญญา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการที่อยากให้มีการจัดตั้งศูนย์ฯ อยู่ระดับมาก


2. รูปแบบศูนย์วิจัยนวัตกรรมและการฝึกอบรมเพื่อสืบสานภูมิปัญญาสำหรับผู้สูงอายุสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งใช้เทคนิคการวิจัย EDFR พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 Cs ได้แก่ 1) แนวคิดของศูนย์ “พฤฒพลัง สร้างสุข” 2) เทคโนโลยีสื่อสารเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายชุมชนแบบยืดหยุ่น 3) การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต ได้แก่ คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิดหลักสูตรฝึกอบรมแบบผสมผสานการฝึกอบรมแบบเปิด ระบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน COACH และหลักสูตรการศึกษาออนไลน์แบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 4) พัฒนางานวิจัยและต่อยอดภูมิปัญญาร่วมกับภาคีเครือข่าย 5) ความช่วยเหลือให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2565). วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญา (สคส.) . สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/know/13/1425

จุมพล พูลภัทรชีวิน. (2559). Twilight Program เรื่อง การวิจัยเชิงอนาคต (Futures Research). กรุงเทพฯ: ฝ่ายจัดการความรู้การวิจัย กองประเมินผลและจัดการความรู้วิจัย วช.

นฤมล จันทรเจิด.(2563). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบพหุวัยด้วยกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ(วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรีชา นวลเป็นใย. (2561). ประชากรรุ่นเกิดล้าน. วารสารข้าราชการ, 60(4), 3-4.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. เล่ม 136 ตอนที่ 47 ก (11 เมษายน 2562) หน้า 1-68.

พัชรินทร์ ชัยจันทร์ และรัชนิวรรณ อนุตระกูลชัย. (2562). กลยุทธ์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 3901-3916.

พนัชกร พิทธิยะกุล และคณะ.(2564). การอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอด: “ภูมิปัญญาผ้าทอเกาะยอ” ผ่านหลักสูตรท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 193-203.

สำนักงานสถิติชลบุรี. (2563). ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ปี 2555-2560. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563, จากhttp://chonburi.nso.go.th/

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน). (2561). เศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.cea.or.th/th/about

สุวิณี วิวัฒน์วานิช, จิราพร เกศพิชญวัฒนา และชาตินัย หวานวาจา.(2564). นวัตกรรมส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยชมรม/ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงอายุ. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Friedenthal, S., A. Moore, R. Steiner, and M. Kaufman. (2012). A Practical Guide to SysML: The Systems Modeling Language. (2nd ed.). Massachusetts: OMG Press.

LIN, A., & Wei, H. C. (2021). Education as a Strategy for Active Aging Learning Center in Taiwan. Advances in Social Sciences Research Journal, 8(2), 137–146. https://doi.org/10.14738/ assrj.82.9650

Marjan Laal. (2011). Lifelong learning: What does it mean?. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 28(2011) 470 – 474. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2011.11.090

Mauk, K. L. (2010). Teaching Older Adults. In K.L. Mauk (Ed.). Gerontogical nursing: Competencies for care. Boston: Jones and Bartlett.

Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions Of Qualitative Research to the Validity of Intervention Research. Journal of School Psychology. 43(3), 177-195.

OnlineMSWPrograms. (2020). Introduction to Systems Theory in Social Work. Retrieved December 4, 2021, from https://www.onlinemswprograms.com/social-work/theories/ systems-theory-social-work/

World Health Organization. (2002). Active Ageing: A Policy Framework. Noncommunicable Disease Prevention and Health Promotion: Ageing and Life Course. Switzerland: World Health Organization.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York. Harper and Row Publications.