แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ ประชากรคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมราชบุรี จำนวน 26 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของร่างแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันในการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด ในการบริหารวิชาการ คือ การจัดการเรียนรู้ (2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดทางดิจิทัล ประกอบด้วย 4 แนวทาง ดังนี้ (1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล และความปลอดภัยทางดิจิทัล (2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยเน้นส่งเสริมคุณลักษณะความฉลาดทางดิจิทัลด้านความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล (3) ปรับปรุงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ที่เน้นการประเมินตามสภาพจริง (4) พัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนมีคุณลักษณะด้านความฉลาดทางอารมณ์บนโลกดิจิทัล และความปลอดภัยทางดิจิทัล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดกาศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ:ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จามจุรี จำเมือง. (2553). ผู้บริหารกับการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
ปณิตา วรรณพิรุณ และนำโชค วัฒนานัณ. (2560). ความฉลาดทางดิจิทัล. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 104(34), 12–20.
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
ปองสิน วิเศษศิริ. (2555). การบริหารงานวิชาการกับการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. 2563. ความฉลาดทางดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปทุมธานี: วอล์ค ออน คลาวด์
ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. ราชกิจจานุเบกษา, 135(82 ก), 34-37.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2552). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นำศิลป์โฆษณา.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). Digital Learning. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
วาสนา ดิษฐ์ประดับ และ นุชนรา รัตนศิระประภา. (2565). วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 79-92.
ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 1856-1867.
ศักดิ์ดนัย โรจน์สราญรมย์. (2563). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ทางดิจิทัลของนักเรียน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 319-334.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2560). วิธีสอนทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาศิลปากร.
สมนึก ภัททิยธนี. (2562). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: กาฬสินธุ์การพิมพ์.
สมาน อัศวภูมิ. (2551). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่: แนวคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซท.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ องค์การมหาชน. (2560). Digilearn is Now เรียนรู้ สู่ โอกาส. สืบค้นเมื่อ10 สิงหาคม 2565 จาก: http://www.okmd.or.th/okmdopportunity/FutureLearningPlatform/ 897/Digilearn Booklet.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลที่เหมาะสมกับผู้เรียนในวัยเรียน. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรัตน์ ช่างเกวียน และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 93-108.
DQ Institute Leading Digital Education, Culture, and Innovation. (2019). Digital intelligence (DQ): DQ Global Standards Report 2019 Common Framework for Digital Literacy, Skills and Readiness. Retrieved February 2, 2022, from: https://www.dqinstitute.org/wpcontent /uploads/2019/03/DQGlobalStandardsReport2019.pdf.
Giarla, A. (2016). The Benefits of Blended Learning. Retrieved April 5, 2022, from http://www.teachthought.com/learning/the-benefits-of-blended-learning.
Institute, DQ. (2017). Digital Intelligence (DQ) A Conceptual Framework & Methodology for Teaching and Measuring Digital Citizenship. Retrieved October 5, 2021, from https://www.dqinstitute.org/wp-content/uploads/2017/08/DQ-Framework-White-Paper-Ver1-31Aug17.pdf.
Martin, A. (2006). Literacies for the digital age. (pp. 3-25). In Martin, A. & Madigan, D. (Eds.) Digital literacies for learning. London: Facet.
Waller, S. (2015). The Four Elements of Digital Intelligence (DQ). Retrieved October 20, 2021, from https://simonwaller.com.au/wp-content/uploads/2014/09/Digital-Intelligence-white paper .pdf.
World Economic Forum. (2016). 8 digital life skills all children need and a plan for teaching them. Retrieved February 5, 2022, from: https://www.weforum.org/agenda/2016/09/8-digital-life-skills-all-children-need-and-a-plan-forteaching-them/.
Yuhyun, P. (2016). 8 digital skills we must teach our children. Retrieved October 20, 2021, from https://www.weforum.org/agenda/2016/06/8-digital-skills-we-must-teach-our-children.