ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างอาชีพเสริมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างอาชีพเสริมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) เพื่อเป็นแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างอาชีพเสริมให้กับกลุ่มชนชน โดยเป็นการวิจัยแบบผสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในบ้านหนองครอบ หมู่ที่ 5 ตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 256 คน การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) การใช้แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุ 2) การสนทนากลุ่ม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 6 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า 1) ประชาชนจะเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 1-2 ครั้ง/เดือน โดยเลือกเข้าร่วมกิจกรรมโครงการรัฐสวัสดิการต่างๆ และกิจกรรมของชุมชนที่เกี่ยวกับการสร้างรายได้เสริม 2) ปัจจัยด้านทัศนคติเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างอาชีพเสริมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มากที่สุด และ 3) ควรส่งเสริมให้คนในชุมชนเห็นถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมในการสร้างอาชีพเสริมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การได้รับผลตอบแทน การมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น การรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองกับผู้ซื้อ เป็นต้น รวมไปถึงสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนากลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กุลจิรา รักษนคร (2563). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 328-344.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2(1), 4-5.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการบริหาร: กระบวนทัศน์ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
ณัฐสันต์ นันทวัฒน์. (2565). วัฒนธรรมไทยในศตวรรษที่ 21 กับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารธรรมวัตร, 3(1), 1-11.
ธนาดล สมบูรณ์. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 250-263.
ประภัสสร ผะแดนนอก และ อำนวย ทองโปร่ง. (2564). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่21 ตามการรับรู้ของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขตจตุรวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 199-214.
ปิยนุช เศรษฐี. (2560). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู โรงเรียนในกลุ่มปากอ่าวเจ้าพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พระครูกิตติญาณวิสิฐ (ธนา หอมหวล). (2565). องค์ประกอบและรูปแบบการเชื่อมโยงการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปการจัดการ, 6(1), 324-339.
พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย. (2565). รูปแบบการบริหารการจัดการโรงเรียนสีเขียวตามหลักสัปปายะ7 แบบมีส่วนร่วม. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 1-9.
พระมหานรินทร์ สุรปญฺโญ. (2564). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาผู้นำ. วารสารธรรมวัตร, 2(2), 19 – 28.
ลานนา รักงาม. (2563). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในอำเภอแม่สาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3.(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.
วงค์วะลี ยั่งยืน. (2564). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 15-27.
สมนึก ชาวสวน, ประกาศิต อานุภาพแสนยากร และ จำเริญ อุ่นแก้ว. (2564). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(1), 54-69.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2563-2564) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อภิรัตน์ ช่างเกวียน และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2565). บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 93-108.
Damnoen, P. S., Siri, P., Supattho, P. S., & Kaewwilai, K. (2021). The Development of Student Characteristics in According to the Nawaluk Framework of the Buddhist integration of Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(2), 126–135.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, S., Tuwanno, P. D. M., Srichan, P. W., & Udomdhammajaree, P. (2022). Educational Quality Assurance and School Management Standards According to International. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 6(1), 1–16.