การพัฒนาสื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อส่งเสริมทักษะการอ่านให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านของนักเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูภาษาไทยต่อการสอนโดยใช้สื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 28 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน แบบสอบถามความพึงพอใจของครู และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ E1/E2 และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ มีประสิทธิภาพ 80.03/ 81.63 2) ผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของครูอยู่ในระดับมาก 4) ความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้พบว่า สื่อการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญมากในการส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื้อเรื่องเหมาะสมกับวัยและความสนใจ และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักเรียน ช่วยให้สื่อน่าสนใจมากขึ้น ตลอดจนสื่อช่วยครูให้มีเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้สะดวกยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติยาวดี กลั่นเกษร. (2541). “ความรู้เกี่ยวกับการอ่าน: ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรงเทพฯ: สํานักพิมพ์ดอกหญ้า.
เกรียงศักดิ์ รอดเล็ก. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวตอร์ ช่วยสอน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างถวายฎีกา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คณะกรรมการวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (2556). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และ อัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2540). ภาษาไทย 2. (พิมพ์ครั้งที่ 3.) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารุณี มัดถาปะโท. (2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประทีป วาทิกทินกร. (2542). ลักษณะการใช้ภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ยุพิณ อนันตภูมิ. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รังษิมา สุริยารังสรรค์. (2555). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ และความพึงพอใจจากการใช้เว็บเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิจัย มข., 17(1), 142-152.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สถาบันภาษาไทย. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2540). การวัดและประเมินผลการอ่าน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวิทย์ มูลคำ และ สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). ผลงานทางวิชาการสู่...การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: อี เค บุคส์,
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลเอ็ด ดูเคชั่น.
อนงพันธุ์ ใบสุขันธ์. (2551). การใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียนชั้นอนุบาล. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.