ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตภาคกลาง

Main Article Content

อรพรรณ ขันแก้ว
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ทักษะของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตภาคกลาง 2) การเป็นองค์กรแห่งความสุขของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตภาคกลาง และ 3) ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตภาคกลาง รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเป็นกรอบการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละมัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า


1. ทักษะของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอในเขตภาคกลาง พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปหาน้อย คือ ทักษะทางมนุษย์ ทักษะความคิดรวบยอด ทักษะทางความรู้ความคิด ทักษะทางการศึกษาและการสอน และทักษะทางเทคนิค ตามลำดับ


 2. การเป็นองค์กรแห่งความสุขของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในเขตภาคกลาง พบว่าโดยภาพรวมและรายได้อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปหาน้อย คือ คุณธรรม ครอบครัวที่ดี มีสังคมดี ใช้เงินเป็น การหาความรู้ น้ำใจงาม การผ่อนคลาย และสุขภาพดี


3. ทักษะความคิดร่วมยอด ทักษะทางมนุษย์ และทักษะทางเทคนิค ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในเขตภาคกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ใจเที่ยง. (2562). การบริหารองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(2), 74-93.

จันทร์จิรา พรหมเมตตา, และคณะ. (2562). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. พิฆเนศวร์สาร, 15(1), 167-186.

ทิพวัลย์ รามรง, และสานิต ฤทธิ์มนตรี. (2561). แนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(1), 185-208.

บุรินทร์ เทพสาร. (2557). ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองคก์รแห่งความสุข. ค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/45380/1/5284464027.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2555). บ่มเพาะนักศึกษาพยาบาล สู่การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สสช.สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/ Pages/home.aspx

สุวิมล ทองจำรัส, และสจีวรรณ ทรรพวสุ. (2563). ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10, 168-178.

อนุพงศ์ รอดบุญปาน. (2561). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนอนุบาลกุยบุรี(วัดวังยาว). (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยศิลปากร, สาขาวิชการบริหารการศึกษา.

อภิชาต ขันธชัย, และพรเทพ รู้แผน. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(1), 63-70.

Bohrnstedt, G., & Knoke, D. (1988). Social for Social Data Analysis. Illinois: FE Peacock Publishers.

Kattz, E. (1974). Utilization Of Mass Communication by The Individual. California: sage.

Likert. (1970). New Patterns of Management. New York: McGraw Hill.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.

Thelbert, L. D., & William, H R. (1986). The Principalship. (3rd ed.). New York: Macmillan.