การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD รายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ทอฝัน แววกระโทก
ผดุง เพชรสุข

บทคัดย่อ

การสอนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD จะเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้และ
ความเข้าใจในเนื้อหาร้อยละได้ดียิ่งขึ้นโดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียน  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD รายวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 19 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องร้อยละ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test
          ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD เรื่องร้อยละภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐภัค อุทโท. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนทางกายภาพ โรงเรียนอนุบาลวัดช่องลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพพร แหยมแสง. (2555). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิธินันท์ กลั่นคูวัฒน์. (2559). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบ TAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยามศึกษาปีที่ 2(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรพรรณ เสาร์คำเมืองดี. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัลลภ เต่าให้. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วรัญญา พลหาร. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางคณิตศาสตร์เรื่อง รูปเรขาคณิต โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับสื่อประสม(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์.

วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.

วัลยา บุญอากาศ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศศิประภา อิฐานุประธานะ และ คณะ. (2565). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดสะตีมศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(2), 415-429.

ศุภวรรณ การุญญะวีร์. (2564). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาตามหลักสัปปายะ 7 วิถีใหม่. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(2), 75-82.

อนุจรี สีวะสา. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนดีประจำตำบล ในเขตอำเภอเดชอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 584-596.

Brennan, R. L., & Kane, M. T. (1977). An Index of Dependability for Mastery Tests. Journal of Educational Measurement, 14, 277-289.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper Collins.

Johnson, D. W., & Roger, T. J. (1989). Cooperative Leaning in Mathematics Education. In New Directions for Elementary School Mathematics. Reston Virginia: The National Council of Teachers of Mathematics.

Lovett, H. T. (1978). The Effect of Violating the Assumption of Equal Item Means in Estimating the Livingston Coefficient. Educational and Psychological Measurement, 38, 239-251.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.

Phothongsunan, S. (2022). Thai EFL Undergraduate Learners’ Needs for English for Specific Purposes at Present. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 6(1), 13–17.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75–86

Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning: Theory, Research, and Practice. New Jersey: Prentice Hall.

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning Theory Research and Practices. New Jersey: Prentice Hall.

Wallerstein, H. (1971). A dictionary of Psychology. Maryland: Penguin Book.