การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยของประชาชน

Main Article Content

สวัสดิ์ จิรัฏฐิติกาล

บทคัดย่อ

วัฒนธรรมทางการเมืองนั้นเป็นแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคล ซึ่งมาจากความเชื่อ ค่านิยม และทัศนคติทางการเมือง เกิดจากกระบวนการปลูกฝังอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง ทั้งในทางตรงและในทางอ้อมเป็นระยะเวลานาน จนทำให้บุคคลในสังคมมีความรับรู้ทางการเมือง ซึ่งจะมีผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลในสังคม บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยของประชาชน โดยใช้แนวคิดวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นกรอบ  การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (Documentary Research) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญที่มีความรู้ทางด้านวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตย ได้แก่ นักวิชาการพระพุทธศาสนา ผู้นำชุมชน นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ และนักวิชาการด้านประชาธิปไตย จำนวน 10 คน ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


การส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยของประชาชน ประกอบด้วย 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจ เป็นการยกระดับความรู้ความสามารถ ทักษะ และเจตคติ ให้กลายเป็นพลเมืองที่มีความรู้ ความสามารถ ตระหนักในศักยภาพของตน รวมทั้งการเป็นหน้าที่พลเมือง การเคารพซึ่งกันและกัน และการใช้สติในการดำเนินชีวิต 2) การสร้างการมีส่วนร่วม โดยให้ความรู้ ให้ข้อมูล ในการทำให้ประชาชนปรับเปลี่ยนความคิด วิธีคิด การกระทำ และการสร้างจิตสำนึกว่าสิ่งใดที่เป็นเรื่องของส่วนรวมหรือของประเทศชาติ


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนโดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมทางการเมืองที่ถูกต้อง และยึดหลักประชาธิปไตย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

จรัส สุวรรณมาลา. (2560). วิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2559). จิตวิทยาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้น.

ณัฏฐ์ชาภัทร ตรงจิตร. (2557). รัฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

เดชา กมลเชษฐ์. (2560). ทฤษฎีการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: แสงแดดการพิมพ์.

ทักษิณ ประชามอญ, ธิติวุฒิ หมั่นมี, ธัชชนันท์ อิศรเดช และ นภัทร์ แก้วนาค. (2562). รูปแบบการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 96-109. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/168062

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

พงษ์เมธี ไชยศรีหา. (2561). แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยของประชาชนในเขต เทศบาลเมืองชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(2), 243-262. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/243804

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557). วัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตชนบทอีสาน: กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคำบง และหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 31(3), 63-96. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index. php/HUSO/article/view/32286

รพีพร ธงทอง. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองสมัยใหม่ของเด็กและเยาวชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 16(1), 27-40. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/ RDIBRU/article/view/248831

อภิญญา มุกดาธนพงศ์, สัณฐาน ชยนนท์ และ วิจิตรา ศรีสอน. (2564). แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 923-939. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/ index.php/jmhs1_s/article/view/250998

Aggrawall, R. C. (1996). Principle of Political Science. New Delhi: S. Ch. and Company.

Garry, R. (2004). Transparency and Authoritarian rule in Southeast Asia Singapore and Malaysia. London: Routledge Curzon.

Weiten, W. (1995). Personality: Theory, Research, and Assessment in Psychology: Themes and Variations. (3rd ed.) California: Brooks/Cole.