กลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาออนไลน์ของโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก

Main Article Content

รัฐนันท์ รถทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษากลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาออนไลน์ในโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก และเพื่อพัฒนาการศึกษาออนไลน์ในโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอนคือ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (2) เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (3) ร่างกลยุทธ์ (4) ตรวจสอบกลยุทธ์ (5) ปรับปรุงแก้ไขกลยุทธ์ (6) สรุป และเขียนรายงานวิจัย  เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์ และแจกแบบสอบถามให้กับ คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่เทคนิคของการศึกษาออนไลน์ ผู้เข้ารับการศึกษาในหลักสูตรออนไลน์ของโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย  การวิเคราะห์ SWOT ในการกำหนดกลยุทธ์ หลังจากนั้นตรวจสอบกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ


ผลวิจัยพบว่ากลยุทธ์การพัฒนาการศึกษาออนไลน์ในโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก ได้แก่ (1) การสร้างสภาวะแวดล้อมในการส่งเสริมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (2) การส่งเสริมวัฒนธรรมและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมให้กับกำลังพลของกองทัพบกรุ่นใหม่ (3) การส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของหน่วยต่างๆของกองทัพบก (4) การส่งเสริมให้ผู้บริหารในโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบกในการรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (5) การส่งเสริมการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมที่ทันสมัยในโรงเรียนเหล่าและโรงเรียนสายวิทยาการของกองทัพบก รวมทั้งโครงการสวัสดิการในการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมที่ทันสมัยส่วนบุคคลของกำลังพล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2562 - 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

กองทัพบก. (2554). คำสั่งกองทัพบกที่ 35/2555 เรื่อง นโยบายการศึกษาของกองทัพบก พ.ศ. 2555-2559 ลง 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554.

ขวัญชัย พานิชการ. 2554. การพัฒนารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมสำหรับสถาบันการอาชีวศึกษา(ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). อีเลิร์นนิงคอสร์แวร์: แนวคิดสู่การปฏิบัติสำหรับการเรียนการสอนอีร์นนิงในทุกระดับ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์. (2550). การนำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของกองทัพบกเพื่อส่งเสริมความมั่นคงของชาติ(ดุษฎีนิพนธ์ครุศาตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐ์สิตา ศิริรัตน์. 2551. การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมสำหรับบุคคลากรทางการศึกษา(ดุษฎีนิพนธ์ครุศาตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ กิจจานุวัฒน์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์ผู้สอนในโรงเรียนเหล่าสายวิทยาการของกองทัพบก(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

พิศิษฐ ปัญญานะ. (2554). แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนแบบ E-Learning ของโรงเรียนทหารปืนใหญ่(เอกสารวิจัยหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 56). วิทยาลัยการทัพบก.

เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: อินเฮาส์ โนว์เลจ.

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ และ ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 15(1), 68-85.

สฤษดิ์ โตจรูญ. (2554). การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนกิจการกาลังสารองและกิจการสัสดีของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. เอกสารวิจัยหลักสูตรหลักประจำชุดที่ 56 วิทยาลัยการทัพบก.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สรุปผลที่สำคัญสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

Bramble, W.J., & Panda, S. (2008). Economics of distance and online learning: theory, practice, and research. New York: Taylor and Francis Group.

Holmberg, B. (2005). The Evolution, Principles and Practices of Distance Education. Open Learning, 21, 273-277.