พลังบวรกับการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งผ่านมิติแกลมอของชาวกูย ในเขตตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระปรัชญ์กรณ์ วิยาสิงห์
พระอธิการวิชัย นาหนองบัว
ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนำเอารูปแบบและ แนวคิด การพัฒนาแบบ“บวร” (บ้าน วัด และโรงเรียน) มาใช้ในการพัฒนาชุมชนกล่าวคือเป็นแนวคิดที่มุ่งพยายามที่จะนำเอาองค์กร หรือสถาบันหลักในชุมชนท้องถิ่นมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาว่าจะสามารถนาชุมชนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้จริงหรือไม่ สถาบันหลักที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักที่สำคัญในการพัฒนาชุมชน 3 สถาบัน ได้แก่1) สถาบันทางสังคม (บ้าน) ซึ่งประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบล สาธารณสุขตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ  รวมทั้งระบบกลไกในการบริหารที่มาจากรัฐในรูปแบบอื่นๆ 2) สถาบันศาสนา (วัด) ประกอบด้วยเจ้าอาวาส พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และ กลุ่มชมรมทางศาสนา 3) สถาบันการศึกษา (โรงเรียน) ประกอบด้วยครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ๆ การนำเอาสถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนา และสร้างชุมชนให้เข้มแข็งทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ติดสินใจแก้ปัญหาตนเองและชุมชนจึงเป็นทุนทางจิตวิญญาณและทุนทางวัฒนธรรม ที่มีอยู่ในชุมชน เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาวกูย โดยการศึกษาประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน  เรียนรู้ภูมิปัญญาของชนชาวกูย บทความทางวิชาการนี้จึงตั้งวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากลไก “บวร”ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน รวมทั้งกระจายข้อมูลข่าวสารและนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 2)เพื่อศึกษาการสร้างชุมชนเข็มแข็งผ่านมิติการแกลมอ 3) เพื่อศึกษาความร่วมมือของบ้าน วัดและโรงเรียนในการพัฒนาสังคม ตำบลศรีสุข อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). การพัฒนารูปแบบ: การขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลังบวร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). การดำเนินงานชมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2545). เรือมม๊วต: พิธีกรรมทรงเจ้าเข้าผีของกลุ่มชาวไทยเขมรสุรินทร์. สุรินทร์: สถาบันราชภัฏสุรินทร์.

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2539). แกลมอ: การฟ้อนรำในพิธีกรรมของชาวไทยกูยสุรินทร์. สุรินทร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์.

ปราณี เกื้อทอง. (2545). บทบาทของพระสงฆ์ในงานพัฒนาชุมชน: ศึกษากรณีวัดในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และ คณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2534). ทางสายอิสรภาพของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี. (2553). การศึกษารูปแบบการจัดการตนเองการพัฒนาชมชนภายใต้สังคมกึ่งเมืองโดยใช้ฐานทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนตำบลโพรงมะเดื่อ. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(5), 8-15.

วาสนา แก้วหล้า. (2551). แหล่งเรียนรู้เพื่อชุมชน : กรณีศึกษาการแพทย์พนมดงรักจากอโรคยาศาลาในไทยและกัมพูชา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สนธยา พลศรี. (2545). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2544). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้ชุมชนเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.