ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

Main Article Content

นลัทศิริ นิธิศุภโชค

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ตัวแปรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  1) เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจและปัจจัยอนามัยของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา  และ  3) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยจูงใจและปัจจัยอนามัยกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กัน และส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 - 40 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานระหว่าง 5-15 ปี และมีรายได้รวมต่อเดือนอยู่ระหว่าง  20,001 - 30,000 บาท ปัจจัยจูงใจและปัจจัยอนามัยส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานในเชิงบวกอย่างเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้ง 9 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าในสายอาชีพ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบในงาน ด้านนโยบายและการบริหารงาน ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ โดยเฉพาะอีก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านการยอมรับนับถือ และด้านความรับผิดชอบในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2559). แรงจูงใจ 2 ปัจจัย พลังสู่ความสำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(3), 175-183.
มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อทิตยา เสนะวงศ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรระดับปฏิบัติการและระดับหัวหน้างานที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัย(การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Beach, D. S. (1965). Personnel: Management of people at work. New York: The Macmillan.
Georgopoulos, B. S., Tannenbaum, A. S. (1957). A Study of Organizational Effectiveness. American Sociological Review, 22(5), 534-540.
Gibson, J. L. (2000). Organization: Behavior Structure Process, International edition. (10th ed). U.S.A.: McGraw Hill.
McGregor, D. (1969). The Human Side of Enterprise. Now York: McGraw-Hill.
Steer, R. M. (1977). Organizational effectiveness: A Behavioral View. California: Goodyear Publishing.