ศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการแห่งศรัทธาของชาวพุทธในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความหมาย ความสำคัญ และประเภทของศรัทธาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการแห่งศรัทธาของชาวพุทธในสังคมไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการแห่งศรัทธาของชาวพุทธในสังคมไทย โดยเป็นการศึกษาในเชิงเอกสาร แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนไทย เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นสังคมที่มีแต่ความสามัคคีเอื้อเฟื้อต่อกัน และศรัทธานั้นก่อให้เกิดเป็นจารีตประเพณี และการสรรสร้างงานด้านศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ทรงคุณค่าต่อสังคมไทย ได้แก่ 1) สถาปัตยกรรม ในรูปของวัด เจดีย์ และปูชนียสถาน 2) ประติมากรรม ในรูปของการปั้น การหล่อ การแกะสลักพระพุทธรูป 3) จิตรกรรม ในรูปของภาพฝาผนังอุโบสถ และ 4) วรรณกรรม ในรูปของงานประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง
Article Details
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).(2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 15).กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2540). มนุษย์กับสังคม ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
มูลนิธิภูมิพโล. (2525). สทฺทนิติมาลาปกรณ์ สุตฺตมาลา (ฉบับภูมิพโล). กรุงเทพฯ: มูลนิธิภูมิพโล.
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2535). อภิธานปฺปทีปิกาและอภิธานปฺปทีปิกาสูจิ.กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
สมพร อยู่โพธิ์. (2541). พระพุทธรูปปางต่างๆ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2541
หลวงเทพดรุณานุศิษฎ์. (2518). ธาตุปฺปทีปิกา. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.