ศิลปะการประพันธ์เชิงวัจนลีลาในงานวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง ขวัญสงฆ์ ของ ชมัยภร แสงกระจ่าง

Main Article Content

ปพิชญา พรหมกันธา

บทคัดย่อ

การศึกษาศิลปะการประพันธ์เชิงวัจนลีลาในวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง “ขวัญสงฆ์” ของชมัยภร แสงกระจ่าง ที่ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น ในงานหนังสือแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช 2552  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ศิลปะการประพันธ์เชิงวัจนลีลาในด้านการใช้คำ จำนวน 37 ตอน วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาความด้วยวิธีการวิเคราะห์คำ ใช้เกณฑ์ของวันเนาว์ ยูเด็น พบว่าการใช้คำมักใช้ลีลาการสัมผัสอักษรมากที่สุด จำนวน 475 คำ การใช้คำสัมผัสสระ จำนวน 326 คำ การใช้คำยมก จำนวน 215 คำ การใช้คำซ้ำต่างความหมาย จำนวน 45 คำ การใช้คำแสดงความรู้สึก 30 คำ การใช้คำขัดแย้งกัน จำนวน 20 คำ การใช้คำบอกเสียงจำนวน 17 คำ การใช้คำแสดงอาการเคลื่อนไหว 11 คำ การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ จำนวน 4 คำ การใช้คำบอกสี จำนวน 3 คำ และการใช้คำบอกแสง จำนวน 3 คำ แต่ไม่พบคำกังวาน คำบอกกลิ่น และคำบอกรส


งานวรรณกรรมเยาวชน เรื่อง ขวัญสงฆ์ ของชมัยภร แสงกระจ่าง มีการนำกลวิธีการร้อยเรียงเนื้อหาเสมือนร้อยแก้ว แต่มีการส่งสัมผัสให้เกิดเสียงเสนาะแบบกลอนแปดได้อย่างไพเราะตลอดทั้งเรื่อง มีการวางจังหวะเสียงของคำในลักษณะการเล่นสัมผัสอักษรที่พยัญชนะต้นเป็นตัวเดียวกัน หรือเสียงเดียวกันอย่างสละสลวย ลีลาภาษาด้านการใช้คำและโวหาร ภาพพจน์ ที่สื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย มีกลวิธีในการใช้เสียงของคำสัมผัสที่กลมกลืนกัน ซึ่งผู้เขียนสามารถวางจังหวะคำในการประพันธ์ได้อย่างทรงคุณค่า อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษางานวรรณกรรม และเป็นแนวทางให้แก่ผู้สนใจสร้างงานวรรณกรรมสืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา ปราบปัญจะ. (2553). การศึกษาลีลาการใช้ภาษาและกลวิธีการเขียนของ ว.วชิระเมธี(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตภาษาไทย). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2517). การสอนวิชาวรรณคดี ในหนังสือภาษาไทยเล่ม 3. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
เจตนา นาควัชระ. (2520). วรรณคดีวิจารณ์และวรรณคดีศึกษา ในวรรณไวทยากร (วรรณคดี). กรุงเทพฯ: โครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
พัชรีย์ จำปา. (2538). วัจนลีลาในวรรณกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2520). หัวเลี้ยวของวรรณคดีไทย ในวรรณไวทยากร (วรรณคดี). กรุงเทพฯ: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.
เปลื้อง ณ นคร. (2541). ภาษาวรรณนา. กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์ (1988).
สมพร มันตะสูตร. (2525). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: พีรพันธนา.
สารภี ขาวดี . (2554). “ขวัญสงฆ์” วรรณกรรมกรรมเยาวชนที่ให้สาระและบันเทิงผ่านชั้นเชิงทางวรรณศิลป์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7(1), 23-68.
สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนะวรรณ. (2520). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
สิริวรรณ นันทจันทูล. (2552). วัจนกรรมคำคมความรักในเครือข่ายสังคมออนไลน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สนั่น มีขันหมาก. (2537). วิจารณ์วรรณกรรมสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เท็คโปรโมชั่นแอนด์เวอร์ไทซิ่ง.
เสถียร จันทิมาธร. (2516). ในสายธารวรรณกรรมเพื่อชีวิตของไทย. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยา.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ภาษาศาสตร์สังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัครา บุญทิพย์. (2535). การเขียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.