พฤติกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชานมไข่มุกยูริกะ ชา ในเขตสุขาภิบาล 3

Main Article Content

กนกวรรณ ดวงแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อชานมไข่มุกยูริกะ ชา ในเขต สุขาภิบาล 3 และศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อกับพฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจ ในการเลือกซื้อชานมไข่มุกยูริกะ ชา  และเพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการเลือกซื้อชานมไข่มุกยูริกะ ชา  มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกซื้อชานมไข่มุกยูริกะ ชา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคชานมไข่มุก ยูริกะ ชา ในเขต สุขาภิบาล 3  ทุกเพศทุกวัย จำนวน 400 คน ด้วยวิธีเชิงปริมาณ


ผลการวิจัยพบว่า  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่มีอายุระหว่าง 21 -30 ปี ที่มีระดับกาปิดแผงควบคุมรศึกษาปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัท/องค์กรเอกชน และมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 25,001 - 30,000 บาท ด้านพฤติกรรมศาสตร์ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps)  เช่น ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาดในระดับที่มาก ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านพนักงาน/บุคลากร และด้านการให้บริการในระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกยูริกะ ชา เมื่อพิจารณาระดับความคิดเห็นแต่ละด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับการตัดสินใจเลือกซื้อชานมไข่มุกยูริกะ ชาเพราะความชื่นชอบ รสชาติ และมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจตามลำดับ พฤติกรรมการเข้าใช้บริการเลือกดื่มเพราะชื่นชอบในรสชาติ ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น และดื่มเพื่อทดแทนการดื่มกาแฟ ดื่มตามค่านิยมและดื่มเพื่อแก้กระหาย ตามลำดับ ผู้ตอบแบบสอบถามบริโภคชานมไข่มุกสัปดาห์ละ 1 - 2 แก้ว บริโภคในช่วงเที่ยง ชื่นชอบมากที่สุดคือชานมต้นตำหรับ และประเภทท็อปปิ้งที่ชื่นชอบมากที่สุด คือ ไข่มุก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลป์ยกร วรกุลลัฎฐานีย์, พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2553). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตชุดา นรเวทางค์กุล. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคชานมไข่มุกของผู้บริโภควัยทำงานในเขตวัฒนากรุงเทพมหานคร(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

จุไรพร พินิจชอบ.(2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการผู้ประกอบการขนส่งของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณิชาภัทรบัวแก้ว และ กฤษดาเชียรวัฒนสุข. (2562). การเปรียบเทียบลักษณะผู้ใช้บริการ คุณภาพบริการที่ได้รับ และประสิทธิภาพที่ได้รับที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำของบริษัทขนส่งเคอรี่ เอ็กเพรส จํากัด และบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(4),1782-1796.

ธิดาวรรณ จงเกรียงไกร. (2557). พฤติกรรมการบริโภคชาผลไม้โอชายะของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยธุยา. (2547).การตลาดสำหรับการบริการ : แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิติพลภูตะโชติ.(2561).ความพึงพอใจของลูกค้าต่อบริการของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขามหาวิทยาลัย ขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27),85-96.

เบญจพลอย โพธิพีรนันท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคชานมไข่มุก กรณีศึกษาร้าน Tea More(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศุภณัฐ ลีฬหาวงศ์. (2555) การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคในเขตตำบลสะบารัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี(สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศุภร เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์ บิซิเนสเพรส.

สกาวรัตน์ หาญกาญจนสุวัฒน์. (2555). การกลับมานิยมบริโภคชาจีนในฐานะ “วัฒนธรรมชั้นสูง” ในกรุงเทพมหานครร่วมสมัย(วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิสรีย์ สุขพรสินธรรม และ โสมฤทัย สุนธยาธร. (2562). ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทยช่วงวันหยุดของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินชาวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(1), 112-125.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. New Jersey: Prentice-Hall.

Dansilpa, K. (2002). The Delights of Tea. Bangkok: Iknueng Press.

Holloway, C. (2004). Marketing for Tourism. London: Prentice-Hall.

Kim, M. S., & James, J. (2016). The Theory of Planned Behaviour and Intention of Purchase Sport Team Licensed Merchandise. Sport, Business and Management. An International Journal, 6(2), 228-243.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2005). Marketing: An Introduction. London: Pearson.

Lovelock, C., & Wirtz, J. (2007). Services Marketing. London: Pearson.

Phitchomphu, P. (2010). Tea: Contemporary Health Drink. Bangkok: Plan B Press.