แนวทางการลดความอ้วนของพระสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระพงศ์พิณันป์ ภทฺทวฑฒโน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและสาเหตุของความอ้วนในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักการบริโภคและการออกกำลังกายของพระสงฆ์ตามหลักพระพุทธศาสนา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการลดความอ้วนตามหลักพระพุทธศาสนาในสังคมไทย  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การออกกำลังกายและการควบคุมการรับประทานอาหารได้ผลมากที่สุดในการลดความอ้วนตามหลักการลดความอ้วนหรือใช้คำสอนของพระพุทธเจ้าคือ โภชเนมัตตัญญุตา การประมาณในการฉันภัตตาหารของพระภิกษุสงฆ์ ปัญหาและสาเหตุของความอ้วนในสังคมไทย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะอ้วน คือการขาดความรู้ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาหาร และขาดสติยับยั้งชั่งใจก่อนรับประทาน แนวคิดและทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพพบว่า ความเชื่อ คือ ความนึกคิดหรือความเข้าใจของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ การถูกทำให้เชื่อโดยเฉพาะการโฆษณาเชิงพาณิชย์จนทำให้มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะปฏิบัติตาม แนวคิดความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เมื่อบุคคลมีความเชื่ออย่างไร ความเชื่อนั้นจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามความคิดเห็นและความเข้าใจนั้นโดยอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ จึงต้องมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันความเชื่อ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้ ที่มีผลต่อการสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการอยากในการรับประทาน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความอ้วนได้แก่ อายุและพัฒนาการ โรคเป็นจำนวนมากแตกต่างกันตามอายุ พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ ภาระงานพัฒนาการของแต่ละวัยจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งทางกายและทางจิตใจ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการบริหารร่างกาย อารมณ์และจิตใจควบคู่กันไปเพื่อเป็นกรอบการสร้างวินัยในการตระหนักถึงโทษของความอ้วน ควบคุมอาหารก็จะช่วยลดความอ้วน ต้องรักษาอุโบสถศีลเพื่อพัฒนาจิตมากกว่าร่างกาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). Health Start Here : แต่ละวัน แต่ละคำ แต่ละมื้อ. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระพุทธศาสนา.
กรมอนามัย. (2563). คู่มืออนามัยสามเณร. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม
จันทร์จารี เกตุมาโร. (2556). อาชีวอนามัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชนัดดา ผาสุกฤทธิ์. (2554). การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมสำหรับการแก้ไขปัญหาความอ้วน(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทักษพล ธรรมรังสี. (2562). วิกฤตปัญหาโรคอ้วน: ภัยเศรษฐกิจ พิษสังคม. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.
ธีระ ศิริอาชาวัฒนา. (2551). คู่มือสุขภาพดีดูแลได้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
นิวัฒน์ ศิตลักษณ์ และคณะ. (2554). การแพทย์บูรณาการ ฉบับหมอมวลชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: หมอมวลชน.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551ก). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551ข). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551ค). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันวิสา พยัคฆ์สกุล. (2551). กินอยู่อย่างไรให้สุขภาพดี. กรุงเทพฯ: ครีเอทบุ๊คส์.