รูปแบบการบริหารการจัดการโรงเรียนสีเขียวตามหลักสัปปายะ7 แบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

พระภัทรชัยญกรณ์ อูดสวย

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอรูปแบบการบริหารการจัดการโรงเรียนสีเขียวตามหลักสัปปายะ7 แบบมีส่วนร่วม โดยเป็นการศึกษาเชิงข้อมูลเอกสาร แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณ ผลจากการศึกษาพบว่า  1. รูปแบบการบริหารการจัดการโรงเรียนสีเขียวเป็นการดำเนินงานในการบริหารจัดการที่สำคัญ 3 ด้านคือ 1) การบริงานด้านกายภาพ เป็นการบริหารงานตั้งแต่ ด้านสภาพภูมิทัศน์ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านอาคารสถานที่ และด้านความปลอดภัย 2) ด้านการบริหารงาน เป็นการบริหารงานภายในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สถานศึกษาประสบความสำเร็จตรงตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้และเอื้อประโยชน์ต่อผู้ศึกษา บุคลากร และสถาบันการศึกษา และ 3) ด้านวิชาการ ประกอบไปด้วย 1) การจัดการเรียนการสอน 2) การจัดบรรยากาศทางวิชาการในโรงเรียน 3) ด้านหลักสูตร เอกสารประกอบการใช้หลักสูตร 4) การจัดแผนการเรียน 5) การสอนซ่อมเสริม 6) การวัดและประเมินผล 7) กิจกรรมเสริมหลักสูตร และ 8) การจัดแหล่งเรียนรู้ 2. รูปแบบการบริหารการจัดการโรงเรียนสีเขียวตามหลักสัปปายะ 7 แบบมีส่วนร่วมเป็นการบริหารการศึกษาที่ต้องอาศัยหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมถึงภาคประชาชน คือ ผู้ปกครองมาร่วมมือในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ร่วมกันในการบริหารงานทั้ง การวางแผนงาน การแก้ไข การดำเนินงานและการประเมิน เพื่อทำให้การทำงานมีศักยภาพและเกิดประสิทธิภาพโดยการยึดหลักการบริงานงานแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมพัฒนา ร่วมแก้ไข ร่วมรับผิดชอบเพื่อทำให้การบริหารการศึกษาประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิติมา ปรีดีดิลก. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรพิพัฒน์.

กรรมการศาสนา. (2554). ความรู้ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2545). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพ.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. (2534). ก้าวเข้าสู่ผู้บริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

นิพนธ์ กินาวงศ์. (2533). หลักเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนและการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเณศ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) (2542). วิปัสสนาในอิริยาบถยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

วิจิตร วรุตบางกูร และคณะ. (2531). การบริหารโรงเรียนและการนิเทศ. กรุงเทพฯ: ขนิษฐาการพิมพ์.

สนิท ศรีสำแดง. (2547). พุทธศาสนากับการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Damnoen, P. S., & Phumphongkhochasorn, P. (2020). National Educational Standards and Educational Administration to Comply with International Standards. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 4(1), 31-39.

Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Pornpitchanarong, S., & Nanposri, N. (2021). Development of Strategies for the Use of Innovative Information in Education for Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Eastern Region. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20483 – 20490.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86.

Tan, C. C., & Damnoen, P. S. (2020). Buddhist Noble Eightfold Path Approach in the Study of Consumer and Organizational Behaviors. Journal of MCU Peace Studies, 8(1), 1-20.