แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา กรณีศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

ฝนทิพย์ อธิบดี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ โดยวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงทุกชั้นปี จำนวนทั้งสิ้น 375 คน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแสดงผลของความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า


  1. การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.593 พบว่า ด้านการประเมินทางเลือก คือ มีการหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกศึกษาต่อ และด้านการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด คือ รู้สึกว่าการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นการตัดสินใจที่ดีและถูกต้อง

  2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับสูงมาก เท่ากับ .939 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติ ตยัคคานนท์. (2533). นักบริหารทันสมัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บัตเตอร์ฟลาย.
กิตติยา เพชรดี (2559). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนิสิตคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทร์ ชุ่มเมืองปัก. (2546). แรงจูงใจและการจูงใจสร้างปาฏิหาริย์. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ชนิดา เพชรทองคำ. (2542). การวิเคราะห์องค์ประกอบแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชนินทร์ เลิศประภาภรณ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาโททางการบัญชี. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัชชา สุวรรณวงศ์ (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา (ระบบโควตา) ประจำปีการศึกษา 2560. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลอีสาน.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์.
ทรงคุณ พัทศุระพงษ์ (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับสูงขึ้นของนายทหารสัญญาบัตร กองบัญชาการกองพลทหารราบที่9(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทศพล เพ็ชรภิมล. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในอำเภอเวียงสระสังกัดสำนักงานเขตพื้น ที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนกฤต ยืนยงเดชา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีด.
ปรุง บุญผดุง. (2525). แรงจูงใจในการเลือกเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วินิจ ธิวะโต (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ช.สหเซไกเทค จํากัด จังหวัดปทุมธานี(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัทธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
สมคิด บางโม. (2548). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมใจ ลักษณะ.(2546).พัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
สมุทร ชำนาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง: พี.เอส.การ พิมพ์.
สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การทฤษฏีและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุรางรัตน์ วศินารมณ์. (2540). สวัสดิการในองค์กร แนวคิดและวิธีการบริหาร. กรุงเทพฯ: เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพ: ไยไหมครีเอทีฟ กรุ๊ป.
Barnard, C. I. (1938). The Functions of Executive. Cambridge: Cambridge University Press.
Beach, H. S. (1980). Personnel: The management of people at work (4th ed.). New York: Macmillan.
Brown, H. Douglas. (1980). Principles of Language Learning and Teaching. New Jersey: Prentice-Hall.
Griffiths, D. E. (1950). Administrative Theory. New York: Appleton-Century & Crofts.
Hersey and Blanchard. (1969). Management of Organizational Behavior. New Jersey: Prentice Hall.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley and Sons.
Hilgard, E. R. (1981). Introduction to Psychology. New York: Harcourt, Brace and World.
Lovell, R. B. (1980). Adult Learning. New York: John Wiley & Son.
Oppenheim, A. N. (1966). Questionnaire design and attitude measurement. (2nd ed.). New York: Basic Book.
Pfiffner, J. M. & Robert V. P. (1960). Public Administration (4th ed.). New York: The Ronald Press Company.
Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior (3rd ed.). New York: The Free Press.