คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สิริพร มูลเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานเขตสายไหม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ความคิดเห็นคุณภาพชีวิตในการทำงานระดับดีมาก ได้แก่ ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ

  2. ความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นระดับดีมาก ได้แก่ ความเชื่อมั่นและยอมรับในเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ

  3. คุณภาพชีวิตในการทำงานในภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างต่ำ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

  4. ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การมี 2 ปัจจัย คือ โอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล ลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา บุญเพลิง. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเทศบาล จังหวัดสมุทรสาคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
การเกด อนันต์นาวีนุสรณ์. (2552). คุณภาพชีวิติในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จริยาพรรณ แก้วสุวรรณ. (2555) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จุฑาพร กบิลพัฒน์. (2524). คุณภาพชีวิติการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ชญานิศ นิลแจ้ง. (2550). การศึกษาการละเมิดสัญญาทางจิตวิทยา ความผูกพันต่อองค์การพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และความตั้งในที่จะลาออกของพนักงานประจำและพนักงานชั่วคราวในบริษัทยานยนต์แห่งหนึ่ง(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรภัทร ขัติยะหล้า. (2555). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลป่าสัก อำเภอเมืองลำพูน(การค้นคว้าอิสระฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ท.
ปวีณา กรุงพลี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สำนักกษาปณ์(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปาริชาต บัวเป็ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ ประเทศไทย (จำกัด)(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พงศ์ภัค วิ่งเร็ว. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สำนักคุมประพฤติ จังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิสิฎฐ วงศ์นากนากร. (2549). คุณชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารหลวงไทย จำกัด (มหาชน) : ศึกษาเฉพาะกรณีสาขาในสังกัดสำนักงานเขต 1 (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มณฑิกานต์ สุขขวัญ. (2559). อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในการทำงานความผูกพันกับองค์การที่มีผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาโรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มาลินี คำเครือ. (2545). คุณภาพชีวิติการทำงานของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานค (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รัชมงคล ค้ำชู. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านกรุณา(การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เลิศชัย สุธรรมมานนท์. (2560). กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อองค์การยั่งยืน.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.