การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีกับการวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน

Main Article Content

พระมหากันตินันท์ เฮงสกุล

บทคัดย่อ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาช้านาน ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ และพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษา ศิลปะ และวัฒนธรรมไทยที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน หลักธรรมทางพุทธศาสนาสามารถกล่อมเกลาจิตใจของชาวไทยให้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ทำให้สังคมไทยมีความร่มเย็นเป็นสุข พระพุทธเจ้าได้จารึกคำสั่งสอนไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธ ใช้เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายในแคว้นต่างๆ หน้าที่สำคัญของพระสงฆ์ก็คือการศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกซึ้ง เพื่อที่จะตรวจสอบพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง ไม่ให้บิดเบือนหรือคลาดเคลื่อนไปจากต้นฉบับเดิม การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีจึงนับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ปัจจุบันมีการจัดการศึกษาบาลีอย่างเป็นระบบ โดยสำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงรับผิดชอบดูแล อีกทั้งมีผู้ให้ความสนใจจัดทำงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีไว้อีกมากมาย


การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเป็นวิธีวิทยาการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบใหม่ โดยนำผลการวิจัยหลายๆ เรื่องที่ศึกษาปัญหาวิจัยเดียวกันมาทำการสังเคราะห์ ได้ข้อค้นพบที่มีความลึกซึ้งมากกว่าที่ได้รับจากงานวิจัยแต่ละเรื่อง เน้นความสำคัญของการสร้างประเด็นอุปมา และนำมาแปลความหมายใน 3 ลักษณะ คือ 1) การแปลความเทียบกลับไปกลับมา 2) การแปลความเชิงหักล้าง 3) การแปลความเพื่อเสนอประเด็นการโต้แย้ง ซึ่งเป็นวิธีการวิจัยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อการสร้าง และพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิติพงษ์ แซ่เจียว. (2564). การจัดการศึกษาของสันติอโศกในโลกดิจิทัล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 161-176.

กรมการศาสนา. (2541). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภมณฑล สิบหมื่นเปี่ยม และวลัยพร ศิริภิรมย์. (2545). แนวทางการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุบผา เมฆศรีทองคำ. (2547). การวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาอภิมานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา(วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูศรีอรรถศาสก์ มหาอตฺโถ. การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ ภาค 14. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(ฉบับพิเศษ), 247-248.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระมหากิตติณัฏฐ์ สุกิตฺติเมธี. (2564). การวิเคราะห์แนวทางงดเว้นจากความเสื่อมในปราภวสูตร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 84-95.

พระมหาประจักษ์ พนาลัยและ นิรุทธ์ วัฒโนภาส. (2564). การเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ของครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 374-387.

พระมหาวรพล วรพโล. (2560). แนวโน้มการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 10(1), 163-168.

พระมหาศรวุฒิ สิริวณฺโณ. (2557). การบริหารจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสกล วิโรจนกิตฺติ. (2561). สัมฤทธิผลของโครงการอบรมบาลีก่อนสอบคณะสงฆ์ภาค 7. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 9(2), 28-39.

พระมหาสุข สุขวีโร. (2550). ความสนใจต่อการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์: ศึกษากรณีพระนิสิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). การศึกษาของคณะสงฆ์ปัญหาที่รอทางออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

วัดปากน้ำ. (2549). ประวัติความเป็นมาของสำนักเรียนวัดปากน้ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงเขตภาษีเจริญ. กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ.

วิโรจ นาคชาตรี. (2561). พระพุทธศาสนากับความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สนามหลวงแผนกบาลี. (2556). เรื่องสอบบาลี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

สวัสดิ์ เขมกปสิทธิ. (2531). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในประเทศไทย. เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์.

สายัณห์ วงศ์สุรินทร์. (2562). สภาพการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี: กรณีศึกษาสำนักเรียนวัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(1), 80-82.

สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม. (2556). วันฉลองเปรียญธรรมประจำปี 2556. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์.

Hess, E.K. (2000). Identification of the Facilitators of and the Barriers to the Collaboration Process in PDSs: A Meta-ethnography 1990-1998(Dissertation). The George Washington University.

Noblit, G.W. & Hare, R.D. (1988). Meta-Ethnography: Synthesizing qualitative studies. Newbury Park: Sage Publications. https://doi.org/10.4135/9781412985000.