การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาตามหลักสัปปายะ 7 วิถีใหม่

Main Article Content

ศุภวรรณ การุญญะวีร์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามหลักสัปปายะ 7 มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ถึงภารกิจของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษาสิ่งเหล่านี้ให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้ จำเป็นต้องอาศัยผู้นำ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรทางการศึกษา สามารถบริหารจัดการองค์กรทางการศึกษาให้ประสบความสำเร็จและเป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์ได้ ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงเป็นกลไกสำคัญและเป็นตัวแปรสำคัญในด้านการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ซึ่งผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ตามความสนใจของผู้เรียน มีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถนำวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยจัดการบริหารด้วยการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ การประสานงาน และการควบคุมดูแลแหล่งเรียนรู้ โดยการบูรณาการหลักสัปปายะ 7 เพื่อให้แหล่งการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างเหมาะสม ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสแหล่งเรียนรู้และสามารถเพิ่มทักษะในการนำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ชุมชน สังคม รวมทั้งประเทศชาติ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา. (2554). ความรู้ศาสนาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กรมสามัญศึกษา. (2544). การพัฒนาและการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การปฏิรูปการศึกษา (2558-2564). สืบค้นเมือ 21 ตุลาคม 2563 จาก http://www.edreform.moe. go.th/home/doc/roadmap_draft_K_A3.pdf.

ณัฐภัค อุทโท. (2558). การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนทางกายภาพ โรงเรียนอนุบาลวัดช่องลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงค์ศรี ราชมณี. (2553). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านจาน สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่ การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.ประเวศ วะสี. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา

แห่งชาติ.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ คำวัด. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมฺจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีในการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2552). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี และประเด็นทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์.

วีระพน ภานุรักษ์. (2559). รูปแบบการเผยแพร่แหล่งการเรียนรู้ออนไลน์ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎี). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สนิท ศรีสำแดง. (2547). พุทธศาสนากับการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สาคร มหาหิงค์. (2560). การบริหารแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 4. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 4(3), 574-589.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อัญชุลี รัตนพร และคณะ. (2562). แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมตามหลักสัปปายะ 7 ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(1), 94-104

Gulick, L. and Urwick, J. (2003). Papers on the Science of Administration. (2nd ed.). New York: Institute of Public Administration.

Price, A. (2004). Human Resource Management. In a Business Context. (2nd ed.). London: Prentice-Hall.