ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา และความสัมพันธ์ของภาวะสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน(ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน) หน่วยศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรี ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยคือ ผู้บริหาร ครู ในโรงเรียน จำนวน 1,819 คน ซึ่งมากำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางประมาณกลุ่มตัวอย่าง ของเครจซี่ และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจำนวน 317 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพขององค์การซึ่งใช้แนวคิดของ เฟลแมน และฮอย เป็นแบบสอบถามจำนวน 44 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยได้ปรับปรุงข้อคำถามด้านภาษา เพื่อให้ข้อความมีความเหมาะสมกับบริบทการดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา หาค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เฉลี่ยอยู่ที่ 0.8 ถึง 1 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าเท่ากับ 0.981 สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะสุขภาพองค์การของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรีโดยภาพรวมอยู่ในระดับกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายมิติพบว่า มิติที่ 3 ด้านภาวะผู้นำด้านมิตรสัมพันธ์ และมิติที่ 2 ด้านภาวะผู้นำด้านกิจสัมพันธ์ ซึ่งมีค่าสุขภาวะองค์กรมากที่สุดอยู่ในระดับสูงและมีค่าคะแนนสุขภาวะองค์การเฉลี่ยเท่ากับ 570.24 และ 547.87 ตามลำดับ ส่วนมิติที่ 7 ด้านการมุ่งเน้นวิชาการ และมิติที่ 1 ด้านความเข้มแข็งขององค์การ ซึ่งมีค่าสุขภาวะองค์กรน้อยที่สุดอยู่ในระดับกลาง มีค่าคะแนนสุขภาวะองค์การเฉลี่ยเท่ากับ 486.50 และ 478.23 ตามลำดับ
- ความสัมพันธ์ของระดับภาวะสุขภาพองค์การโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดนนทบุรีกับประสิทธิผลของโรงเรียนโดยภาพรวมมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.44 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามิติที่ 4 ด้านอิทธิพลของผู้บริหาร และ มิติที่ 7 ด้านการมุ่งเน้นวิชาการ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนนทบุรี อยู่ในระดับ 0.51 และ 0.53 ตามลำดับ
Article Details
References
ฟิสิกส์ ฌอณ บัวกนก. (2558). วารสารครุศาสตร์, 43(1), 63-79.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2554). ชุดข้อมูลเผยแพร่ เด็กไทยเก่งแค่ไหนในเวทีโลก. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2556, จาก apps.alf.or.th/member/uploardFiles/prefix-15082557-113333-Ak9118.pdf.
อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. (2550). คุณธรรมนำความรู้รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
Hoy, W. K. & Feldman. (1987). Organizational Health: The Concept and its Measure. Journal of Research and Development in Education, 20, 30-37.
Hoy, W K. & Forsyth, P.B. (1986). Effective Supervision: Theory into Practice. New York: Random House.
Kimberly, J.R. et al. (1980). The Organizational life cycle. San Francisco: Jossey-Bass.
Lyden, J. A. & Klingele, W. E. (2000). Supervising Organizational Health. Supervision, 61(2), 3-6.
Podgurski, T.P. (1990). School Effectiveness as It Relates To Group Consensus and Organizational Health of Elementary School. Dissertation Abstracts International, 52(3), 769-A.