นวัตกรรมตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี สำหรับกลุ่มเป้าหมาย โซเชียลอีลิท จากการพัฒนาโลหะรีไซเคิล จากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ

ผู้แต่ง

  • จารุตา โฆษิตศักดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศิวรี อรัญนารถ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศมิสสร สุทธิสังข์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ยุคหลังมินิมอลลิสม์, โลหะรีไซเคิล, แฟชั่น, นวัตกรรม, กลุ่มโซเชียลอีลิท

บทคัดย่อ

นวัตกรรมตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี สำหรับกลุ่มเป้าหมายโซเชียลอีลิท (Social elite) จาก การพัฒนาโลหะรีไซเคิลจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกาย และเพื่อหาแนวทางในการสร้างตราสินค้า ซึ่งเป็นงานวิจัยแบบผสมโดยมีทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพควบคู่กับกระบวนการพัฒนานวัตกรรมวัสดุและออกแบบสร้างสรรค์ทางแฟชั่น จากการศึกษาทฤษฎีการรีไซเคิลและแปรรูปโลหะ การออกแบบเครื่องแต่งกาย ร่วมกับการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของกลุ่มเป้าหมายโซเชียลอีลิท ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth-interview) และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 15 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลการแต่งกายของผู้บริโภคด้วยกระบวนการเปเปอร์ดอลดาต้าเซ็ท (Paper doll data set) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการแต่งกายที่จะนำไปใช้ในกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ ทดลองเทคนิค รายละเอียดตกแต่ง ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ด้านการ พัฒนานวัตกรรมวัสดุโลหะรีไซเคิล (Recycled metal) สำหรับงานออกแบบแฟชั่นเหมาะสมกับเทคนิค การถักนิต (Knitting) โดยใช้เส้นโลหะถักผสมร่วมกับไหมพรม 2) แนวทางการออกแบบสร้างสรรค์เครื่อง แต่งกายสำหรับกลุ่มเป้าหมายโซเชียลอีลิท เหมาะสมกับเครื่องแต่งกายในโอกาสการใช้สอยแบบสังสรรค์ (Party-wear) ในรูปแบบคอนเทมโพรารี่ (Contemporary Style) ภายใต้แนวคิดศิลปะยุคหลังมินิ มอลลิสม์ (Post-Minimalism) โดยมีโครงร่างเงาทรงตรง (I-Line) และทรงเอ (A-Line) กลุ่มสีเมทัลลิก (Metallic) 3.) แนวทางในการสร้างตราสินค้าอยู่ในตลาดระดับ B+ 4.) รูปแบบการออกแบบเครื่องแต่งกายที่ให้โครงสร้างเฉพาะส่วน โดยมีรายละเอียดการตกแต่งการถักนิต (Knitting) จากการทดลอง สร้างสรรค์เทคนิครายละเอียดการตกแต่งพบว่าการถักด้วยลวดลายสต็อกกิ้ง (Stocking Stitch), ลายสต็อกกิ้งผสมการถักช่องรู (Stocking Stitch & Holes, ลายใบไม้ผสมการถักสลับช่องรูเล็กใหญ่ (Leaf & Button Holes) ประกอบกับการใช้เส้นโลหะผสมกับไหมพรมเมทัลลิก เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้ พัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี

References

Boonyapatpong, P. (2018, January 23). Minimalism: The art of reduction and authenticity of objects. from https://themomentum.co/minimalism-art/

British Counsil Thailand (2021). The Climate Connection , f r o m https://www.britishcouncil.or.th/programmes/climate-connection

Business for Energy and Environment (B2E). (2013). Green business. Green Business Journal, 7(2), 1–xx. Thailand Environment Institute . https://www.tei.or.th/publications/2013-download/2013-TBCSD-Greenbusiness-y7-2.pdf

Gem and Jewelry Institute of Thailand (GIT). (2021). Sustainability of jewelry customer trends. GIT Journal of Gem and Jewelry , 12 (2) , 45–60 . https://infocenter.git.or.th/storage/files/3QrgGDZb2lMEQc97lF62O7KocBGHaXHkZJnSiFIE.pdf

Khositsak, J. (2023). Brand innovation of women's clothing for social elite targets from recycled metals development in the jewelry industry. Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University.

Rungswang, R., & Arunyanart, S. (2021). Brand creation of partywear from upcycle innovation for androgynous males. Fashion and Creative Art Research Unit. Faculty of Fine and Applied Arts , Chulalongkorn University.

Thesis Citation: Suchinroj, S. (2020). The branding innovation of womenswear from waste materials for reuse revolutionaries group by using upcycle concept. Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University.

Vattavoravet, V. (2016). Antecedents for trading up among middle-class millennial consumers. Thammasat University. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:93044

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

โฆษิตศักดิ์ จ., อรัญนารถ ศ., & สุทธิสังข์ . ศ. (2024). นวัตกรรมตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรี สำหรับกลุ่มเป้าหมาย โซเชียลอีลิท จากการพัฒนาโลหะรีไซเคิล จากอุตสาหกรรมเครื่องประดับ. วารสารดีไซน์เอคโค, 5(2), 13–29. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jdecho/article/view/273153