กระบวนการมีส่วนร่วมแนวทางการพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านส้มกบ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณัฐวัฒน์ จิตศีล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ยศวดี จินดามัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

คำสำคัญ:

กระบวนการมีส่วนร่วม, แนวทางการพัฒนา, โฮมสเตย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์กระบวนการมีส่วนร่วมแนวทางการพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านส้มกบ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่จังหวัดมหาสารคามที่มีป่าโคกข่าว เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดมหาสารคาม ที่ยังไม่มีการมุ่งเน้นการศึกษาการใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะจากธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ก่อให้เกิดแผนการดำเนินงานโครงการแนวทางพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Process of Participatory Action Research; PAR จากผลการวิจัยสรุปกระบวนการการมีส่วนร่วมกับชุมชนเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะต้นน้ำ มีการร่วมศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากป่า เป็นความร่วมมือกันของทีมวิจัยระหว่าง คณาจารย์และนิสิตเบื้องต้น ทำความเข้าใจบริบทของลักษณะธรรมชาติและพืชพรรณที่มีอยู่ในป่าโคกข่าว เพื่อการนำเสนอเสนอรูปแบบการศึกษาลักษณะนิเวศป่าโคกข่าว นำสู่การขยายผลการศึกษาด้วยการใช้สื่อ “Model ป่า” 2) ระยะกลางน้ำ ความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนของโครงการ ได้แก่ คณะวิจัย นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ ชาวบ้านบ้านส้มกบ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการทั้งการบูรณาการความรู้ทางภูมิสถาปัตยกรรม การระดมความคิด สร้างความเข้าใจกับชุมชน ด้วยการจัดเวทีเสวนาร่วมกัน และ 3) ระยะปลายน้ำ เป็นการสังเคราะห์ร่วมกับการบูรณาการการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ โดยการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน ทีมวิจัย และวิทยากร เป็นความร่วมมือที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ กิจกรรมการให้ความรู้ การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อพัฒนาพักรูปแบบ โฮมสเตย์ของชุมชน การนำเสนอผลงาน การเสนอแนวคิดการปรับปรุงพื้นที่พักรูปแบบโฮมสเตย์ของชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาความการใช้ภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานสำหรับสนทนา และการมอบหุ่นจำลอง (Model) ที่ได้รับการเสนอแนวคิดการพัฒนาปรับปรุง ให้กับเจ้าของบ้านพัก

References

Chaowarat, P., Sawangchaeng, S. and Piriyakarnnon, M. (2016). Participatory Action Research in Promoting Safe Bike to School, JARS 13(2). 2016, 69-84.

Department of Tourism Ministry of Tourism and Sports Authority of Thailand. (2015). Thai homestay standards. Chulalongkorn University Printing. Bangkok.

Itthipol K. (2010). Ecotourism format: Case study: Ban Wang Nam Mok Nong Khai Province (Research report). Nong Khai Cultural Office.

Mett M. (2010). Participatory education management: citizens, administrative organizations Local and government departments. 2nd. Bangkok: Bookpoint.

Nithidet C. (2006). Residential tourism at Ban Fong Tai Homestay, Wang Kwang Subdistrict, Nam Nao District Phetchabun Province (Research report). aresuan University.

Pantip R. (1997). Participatory Action Research. ASEAN Institute for Public Health Development. Mahidol University, Bangkok.

Sanya K. (2008). The success of community enterprises in the 4 border provinces of the Mekong Basin. Doctor of Public Administration Thesis Department of Public Administration Valayalongkorn Rajabhat University Under the Royal Patronage.

Thirawat P. (2019). Participatory process in developing standards of comfort in homes and communities. JARS 16(2). 2019, 113-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28