การศึกษาภูมิปัญญาเครื่องจักสาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋า

ผู้แต่ง

  • ชุติมา งามพิพัฒน์ นักวิจัยอิสะ กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ลวดลาย, เครื่องจักสาน, ภูมิปัญญา, ออกแบบผลิตภัณฑ์, กระเป๋า

บทคัดย่อ

การศึกษาภูมิปัญญาเครื่องจักสาน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋า มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสานท้องถิ่น และวัสดุท้องถิ่น 2) เพื่อออกแบบและผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสาน โดยใช้วัสดุท้องถิ่น 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจสำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้อหัตถกรรมเครื่องจักสาน

ผลการศึกษาภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสานท้องถิ่น และวัสดุท้องถิ่น พบว่า ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ในการเลือกซื้อสินค้าหัตถกรรมชุมชน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล จำนวน 100 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Sample Random Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาข้อมูลลักษณะทางกายภาพและของชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ศึกษาข้อมูลรูปแบบเครื่องจักสาน  ในอดีตและปัจจุบัน ศึกษาข้อมูลขั้นตอนการผลิต ศึกษาลักษณะของรูปแบบกระเป๋าจักสาน ศึกษาการผลิตลวดลาย แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ลักษณะคือ 1) ลวดลายพื้นฐาน ถือเป็นลายแม่บท สำหรับการสานทั่วไป มี 6 ลาย คือ ลายขัด ลายสอง ลายสาม ลายตาหลิ่ว ลายขอ ลายบองหยอง 2) ลวดลายพัฒนา เป็นลายที่ช่างจักสานในอดีตได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมา มี 5 ลาย คือ ลายบ้า ลายดีด้าน ลายเฉลาเกล็ดเต่า ลายดอกขิง ลายดีหล่ม 3) ลวดลายประดิษฐ์ เป็นลวดลายที่คิดค้นประดิษฐ์ ประดิษฐ์

จากการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ความพึงพอใจเครื่องจักสานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบกระเป๋าและการผสมผสานวัสดุให้มีความร่วมสมัย พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการประยุกต์ลวดลาย ด้านเอกลักษณ์ (  = 4.77, S.D. = 0.77) การผสมผสานผลิตภัณฑ์ระหว่างลวดลายกับกระเป๋า อยุ่ในระดับมากที่สุด มีเฉลี่ย (  = 4.80, S.D. =0.72) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) อยู่ในระดับมาก (  = 4.47, S.D. =0.87) และด้านราคา (Price) อยู่ในระดับมาก  (  = 4.29, S.D. =0.94) 

References

Chomkwan Son Wiangphan. (2005). Education and development.bamboo weaving machinery for packagingSpa Business (Research Report). Bangkok: InstituteKing Mongkut's Technology Ladkrabang

Office of the National Cultural Commission. (1991). Folk wiS.D.om and cultural and rural development operations. Bangkok: Amarin Printing Group.

Supaporn Chaowang. (2009). Application of folk wiS.D.om.in the development of commercial wicker, province Nakhon Ratchasima (Art thesis Master's Degree, Mahasarakham University).

Wattana Juthawiphat. (2009). Folk art. Bangkok : Chulalongkorn University

Wiboon Leesuwan. (1989). Basketry in Thailand. Bangkok: O.S. Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30