การออกแบบพื้นที่สำหรับร้านค้าด้านธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การออกแบบพื้นที่, ร้านค้าด้านธุรกิจ, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, การออกแบบร้านค้าบทคัดย่อ
บทความนี้เป็นหนึ่งของเอกสารประกอบการบรรยายโครงสร้างหลักสูตรหมวดที่ 3 ด้านการจัดการตลาดของอัญมณีและเครื่องประดับของระดับผู้ประกอบการ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคได้เข้าใจถึงหลักการออกแบบเชิงพื้นที่ เกี่ยวกับแนวคิดขั้นพื้นฐานในการออกแบบร้านค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อสร้างสรรค์แนวคิดสู่รูปแบบกระบวนการประยุกต์ใช้ สื่อถึงการออกแบบที่มีความหมายให้ตรงกับการวางแผนด้านการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ พบว่า แนวคิดพื้นฐานการออกแบบร้านค้าอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงก่อนการออกแบบตกแต่งพื้นที่ภายในอาคารสำหรับร้านค้าประโยชน์ใช้สอยที่สร้างสภาพแวดล้อมบรรยากาศภายในอาคารต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นหลัก กล่าวคือ การแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยที่สอดคล้องเอื้อประโยชน์ต่อการค้า จากการวางแผนสร้างสรรค์งานออกแบบตกแต่งภายในอย่างมีคุณภาพสื่อถึงความงามของรูปแบบ การจัดวาง และ จิตวิทยาในงานออกแบบตกแต่งภายในร้านค้า แสดงให้ทราบถึงปัจจัยสำคัญใน 2 ลักษณะ คือ 1.ปัจจัยด้านกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย แนวคิดยึดหยุ่นหรือความยึดหยุ่นในการคิด ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน เพื่อประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา และแนวคิดละเอียดรอบครอบ มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และ2.ปัจจัยด้านพื้นที่การค้า ประกอบด้วย แนวคิดริเริ่มด้านแนวคิดที่แตกต่างออกไปจากความคิดเก่าหรือความคิดเดิมนำไปสู่ความคิดใหม่ และแนวคิดคล่องตัว ด้านความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ด้านการแสดงออกเชิงพื้นที่
References
Armstrong, G. & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction (9 th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Dale G, Cleaver. (1972). Interior and Numerical Method. volume 1: English : 375pages; ISBN-10 : 0155034316.
Fuller, G.W. (1994). New Product Development from Concept to Marketplace. volume 2: 36 pages.
Joseph De Chiara. (2001). Time-Saver Standards for Interior Design and Space Planning Hardcover. volume 1: New York: 1173 pages.
Opaswatchai, C. (1996). Jewelry Industry Business Trade Show. Department of Export Promotion Thailand. volume 1: Bangkok: 137 pages.
Peter Drucker. (2006). The Practice of Management. volume 1: New York: 405 pages; ISBN-0-06 091316-9
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว