การออกแบบนิทรรศการชั่วคราวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ภายใต้อัตลักษณ์ทางพื้นที่จังหวัดสุโขทัย กรณีศึกษา: อาคารศาลาพระมิ่งขวัญ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร จังหวัดอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศุภโชค สนธิไชย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วุฒิชัย เมาจา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

นิทรรศการชั่วคราว, ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ , บริบททางวัฒนธรรม, ปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจากบริบททางวัฒนธรรมสื่ออธิบายผ่านการออกแบบนิทรรศการชั่วคราวภายใต้อัตลักษณ์เชิงพื้นที่บริบททางวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมาจากการสืบค้นจากเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมถึงหลักการทฤษฎีการออกแบบนิทรรศการชั่วคราว และนำเสนอการออกแบบพื้นที่นิทรรศการชั่วคราว ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุโขทัยนั้น ควรออกแบบจัดแสดงข้อมูลผ่านพื้นที่นิทรรศการชั่วคราวที่สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและโบราณสถานในช่วงยุคสมัยสุโขทัย ให้เอื้อประโยชน์ต่อสภาพเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งข้อค้นพบประเด็นสำคัญในการวิจัยที่สามารถสรุปนำเสนอแนวคิดเพื่อนำมาวิเคราะห์สำหรับแนวทางการออกแบบนิทรรศการชั่วคราวคือ ประเด็นด้านอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และประเด็นด้านพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ แบ่งจำแนกได้ 3 ลักษณะรูปแบบ ดังนี้ 1) การปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ 2) การปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างมนุษย์กับประสบการณ์การรับรู้ข้อมูลผ่านความรู้สึกและสภาพแวดล้อม และ 3) การปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างรูปแบบการจัดแสดงข้อมูลกับองค์ประกอบพื้นที่นิทรรศการ

References

Dale G, Cleaver. (1972). Interior and Numerical Method. volume 1: English: 375 pages; ISBN-10 :0155034316.

Fine Arts Department. (1993). Manual for Museum Curators at the National Museum, Fine Arts Department. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Joseph De Chiara. (2001). Time-Saver Standards for Interior Design and Space Planning Hardcover. volume 1: New York: 1173 pages.

Kaltheera Sanguantang. (2011). Recognizing the Value and Importance of Design through Exhibition. Faculty of Architecture, Silpakorn University.

Ministry of Tourism and Sports. (2016). National Tourism Development Plan, 2nd Edition (2017-2021). Bangkok.

Panero, J., & Zelnik, M. (1979). Human Dimension and Interior Space. volume 2: New York: 689 pages.

Tzortzi, K. (2015). Museum Space: Where Architecture Meets Museology. volume 2: UK: 360 pages.

Wanlapha Roongsirisaengrat. (2002). Thai Ancestors: Pre-Sukhothai and Sukhothai Periods. Bangkok: Chulalongkorn University Printing Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30