การออกแบบตราสินค้าและรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์แปรรูปด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดระนอง
คำสำคัญ:
ทุนวัฒนธรรม, ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์, สินค้าแปรรูปทางการเกษตร, จังหวัดระนองบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าแปรรูปทางการเกษตร จังหวัดระนอง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลกับคนในพื้นที่รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์และนักออกแบบกราฟิก จำนวน 10 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ช่วงอายุระหว่าง 21-35 ปี จำนวน 100 คน โดยผลวิจัยจากการสรุปข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดทุนวัฒนธรรมได้ว่า ระนองยังเป็นจังหวัดที่มีประวัติอันยาวนาน มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่รวม 3 วัฒนธรรม ไทย จีน และอิสลาม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวระนองที่อยู่ร่วมกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างแต่อยู่ร่วมกันอย่างลงตัว
ในการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์ พบว่า 1) ควรนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ เมืองพหุวัฒนธรรม 2) นำเสนอรูปแบบที่มีความร่วมสมัย 3) บุคลิกภาพของแบรนด์ที่มีความเป็นพื้นถิ่นที่มีความร่วมสมัย การเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิก พบว่า 1) ใช้ภาพประกอบในการบอกเล่าเรื่องราว 2) บุคลิกภาพทางการออกแบบที่เป็นธรรมชาติ, ความเป็นพื้นถิ่น, ร่วมสมัย, มีวัฒนธรรม ในการประเมินประสิทธิภาพของการออกแบบกับกลุ่มประชากรพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจบรรจุภัณฑ์ที่ถูกออกแบบใหม่อยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.09 (S.D 82) ผู้บริโภคพึงพอใจตราสัญลักษณ์อยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.93 (S.D 84) ผู้บริโภคมีความพึงพอใจเกี่ยวกับภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์เม็ดมะม่วงหิมพานต์เผาโบราณอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.15 (S.D 80) ภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์รสอบเกลืออยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.00 (S.D 78) ภาพประกอบบนบรรจุภัณฑ์รสอบน้ำผึ้งอยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.23 (S.D 66) ผู้บริโภครับรู้แนวคิดและสามารถจดจำบรรจุภัณฑ์อยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.04 (S.D 83) และบรรจุภัณฑ์ที่ได้การออกแบบใหม่นั้นมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมากที่ค่าเฉลี่ย 4.04 (S.D 74)
References
Khwanchai Sukkon. (2017). A Study of the Influence of Graphics on Roasted Coffee Packaging on Consumers' Purchase Decision: Suan Sunandha Rajabhat University.
Jitima Suathong. (2018). Guidelines for illustration design for Kudi Jeen dessert packaging for sales promotion: Suan Sunandha Rajabhat University.
Diplomatic Executive, Class 12. (2020). Partnership for Sustainable Development: A Study of Ranong Province. Devawongse Varopakarn Institute of Foreign Affairs Ministry of Foreign Affairs.
Ratchasak Sannok. (2018). Tourism Development Strategy in Ranong Province. Suan Sunandha Rajabhat University.
Apichat Kampoomprasert. (2015). Social Capital and Cultural Capital in Ranong Province: Research and Development Institute, Suan Sunandha Rajabhat University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว