แบบจำลองเชิงโครงสร้างของปัจจัยการโฆษณาตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์วัยหนุ่มสาวในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

บำรุง ศรีนวลปาน

บทคัดย่อ

รูปแบบโฆษณาที่ไม่ผิดกฎหมาย สร้างการจดจำ และยังส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปพร้อมกันเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการโฆษณากับการจดจำองค์กรของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการโฆษณากับการจดจำรูปแบบโฆษณาของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการโฆษณากับพฤติกรรมการดื่มตามข้อกำหนดการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยในรูปแบบวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการโฆษณากับพฤติกรรมผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นกลุ่มวัยหนุ่มสาวที่มีอายุระหว่าง 15-40 ปี จำนวน 400 คน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของการโฆษณากับการจดจำองค์กรของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 94 (B: 0.94) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการโฆษณากับการจดจำโฆษณาของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 95 (B: 0.95) และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการโฆษณากับพฤติกรรมการดื่มตามข้อกำหนดการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 56 (B: 0.56) ในการทดสอบโมเดลมีค่า p-value มากกว่า 0.05 ทุกโมเดล

Article Details

บท
Articles

References

จักรกฤช ณ นคร. (2560). มาตรการในการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พุทธศักราช 2551. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(2), 39-48.

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ และนิทัศน์์ ศิริโชติรัตน์. (2558). การค้าเสรีและการปกป้องนโยบายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 1(2), 119-134.

ซิ่วฮวย แซ่ลิ้ม, กนกพร หมู่พยัคฆ์ และนันทวัน สุวรรณรูป. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(3), 25-36.

ดิเรก ควรสมาคม. (2556). มาตรการและการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 : กรณีศึกษาในอำเภอเมือง เชียงใหม่. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 6(1) : 53-76.

ดุษฎี อายุวัฒน์ และวณิชชา ณรงค์ชัย. (2555). การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น) กรณีผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(1), 55-68.

เดช ผิวอ่อน, ทิพาพร กาญจนราช, รักษวร ใจสะอาด, ภาณุโชติ ทองยัง. (2555). การรับรู้และการปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล พ.ศ. 2551 ของผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล. วารสารเภสัชศาสตรอีสาน, 8(3), 24-34.

ไตรลุจน์ นวะมะรัตน. (2551). อิทธิพลของโฆษณาต่อต้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นงนุช ใจชื่น, จิราภรณ์ กมลรังสรรค์ และสุรศักดิ์ ไชยสงค์. (2560). สถานการณ์ ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(1), 11-25.

นิศาชล รัตนมณี, ประสพชัย พสุนนท์, ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของข้าราชการกองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 12(28), 197-211.

นิษฐา หรุ่นเกษม และสายทอง บุญปัญญา. (2552). กลยุทธ์การตลาดของบริษัทแอลกอฮอล์ในประเทศไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีกลยุทธ์แนวราบ (รายงานวิจัย). ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

บัณฑิต ศรไพศาล และจุฑาภรณ์ แก้วมุงคุณ. (2550). การควบคุมปัญหาแอลกอฮอล์ด้วยกฎหมาย: เอกสาร วิชาการประกอบการพิจารณาพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.).

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2562). ตีแผ่กลยุทธ์ธุรกิจน้ำเมา แอบแฝงใช้แบรนด์ DNA โฆษณาเหล้า-เบียร์ รุกหนักช่วงปีใหม่. วันที่เข้าถึงข้อมูล 8 ตุลาคม 2562, แหล่งที่มา https://www.hfocus.org/content/2019/12/18226

เผ่าไทย สินอาพล และ นฤภัค จันทิมา. (2561). ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาจากการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(1), 679-697.

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. (2551). วันที่เข้าถึงข้อมูล 8 ตุลาคม 2562, แหล่งที่มา http://old.ddc.moph.go.th/law/showimg5.php?id=77

ไพศาล ลิ้มสถิต. (8 มกราคม 2563). ธุรกิจน้ำเมา ใช้ช่อง กม. แฝงโฆษณา “แบรนด์ DNA”. ข่าวสดออนไลน์,วันที่เข้าถึงข้อมูล 8 กถมภาพันธ์ 2563, แหล่งที่มา https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_3336865

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์.

ศิโรรัตน์ จันทสีหราช, กาญจนา สงวนวงศ์วาน และบุษยา วงษ์ชวลิตกุล. (2562). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตและนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย 2(1), 25-38.

สมสมร ชิตตระการ. (2562). การรับรู้ ความคิดเห็น และทัศนคติของประชาชนไทยต่อโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2561. ใน ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย (110-115). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

สวรรยา สิริภคมงคล, สำราญ สิริภคมงคล, เกรียงกมล เหมือนกรุด, มนัญญา นิโครธ, อัญชลี คงคาน้อย, สุนทร แสงแก้ว, มรรคมณฑ์ สนองคุณ และอุษณี สร้อยเพชร. (2556). การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น. วารสารประชากร 2(3) : 7-24.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และดาริกา ใสงาม. (2562). ความชุกและพฤติกรรมการดื่มสุราของคนไทย พ.ศ. 2560. ใน ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย (8-17). กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และสุวรรณา อรุณพงษ์ไพศาล. (2543). รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่องมาตราการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากแอลกอฮอล์. ขอนแก่น : จิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อดิศร เข็มทิศ . (2560). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อวิการัตน์ นิยมไทย. (2552). การปฏิรูปกฎหมาย : LAW REFORM. จุลนิติ, 6(5), 131-139.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity. New York: Free.

Anderson, P., De Bruijn, A., Angus, K., Gordon, R., & Hastings, G. (2009). Impact of alcohol advertising and media exposure on adolescent alcohol use: a systematic review of longitudinal studies. Alcohol and alcoholism, 44(3), 229-243.

Ellickson, P. L., Collins, R. L., Hambarsoomians, K., & McCaffrey, D. F. (2005). Does alcohol advertising promote adolescent drinking? Results from a longitudinal assessment. Addiction, 100(2), 235-246.

Kapferer J.N. (1992). Strategic Brand Management. New York and London: Kogan Page.

Kotler, P. & Armstrong, G. (1991). Principle of marketing. New Jersey:Prentice-Hall.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2012). Marketing management (14th ed.). NJ: Prentice Hall.

Lesley, A. Smith & David, R. Foxcroft. (2009). The effect of alcohol advertising, marketing and portrayal on drinking behaviour in young people: systematic review of prospective cohort studies. Journal List BMC Public Healthv. Retrieved September 3, 2019, from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC265

/?fbclid=IwAR1UhFZpItJUd4OeO7KhsLo0-vJayrl6Rp9DoQ3kwcr OrqXuTk81gt8o-Us.

Schumacher, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A Beginner’s Guide to Structural Equation Modeling. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Smith, L. A., & Foxcroft, D. R. (2009). The effect of alcohol advertising, marketing and portrayal on drinking behaviour in young people: systematic review of prospective cohort studies. BMC public health, 9(1), 51.

Smithikrai, C. (2014). Relationship of cultural values to counterproductive work behaviour: The mediating role of job stress. Asian Journal of Social Psychology, 17(1), 36-43.