การจัดการสื่อสารเพื่อการสร้างนวัตกรรมจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทย

Main Article Content

ธัญลักษณ์ ธนปกิจ

Abstract

            การจัดการสื่อสารเพื่อการสร้างนวัตกรรมจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทยนี้เป็นการถอดบทเรียนผ่านโครงการ PIM Business Innovation โดยเลือกศึกษาจากมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทยที่มีการเรียน-การสอนแบบผสมผสานระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งนับเป็นการสร้างประสบการณ์เพื่อเสริมทักษะการทำงานได้อย่างลึกซึ้ง และช่วยให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยมีความพยายามใช้การเรียนรู้นอกห้องเรียนเป็นแนวทางการศึกษาแบบใหม่ แต่ยังคงมีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการสื่อสารที่ต่อเนื่องและเป็นระบบเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

            ในบทความนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยบรรษัทซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนจากการฝึกประสบการณ์จริงในสถานประกอบการ มหาวิทยาลัยฯได้ใช้วิธีการจัดการสื่อสารในรูปแบบของการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมโดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ติดตาม ช่วยเหลือ และเป็นพี่เลี้ยง (ศิษย์เก่า) ร่วมกับคณาจารย์ และยังมีการจัดตั้งคลีนิกด้านนวัตกรรมของคณะบริหารธุรกิจ หรือ BAIC CLINIC โดยนักศึกษารุ่นพี่ที่มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำแก่รุ่นน้อง รวมทั้งสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการฝึกอบรมก่อนการเข้าฝึกประสบการณ์  ผลจากการศึกษานี้พบว่าการจัดการสื่อสารช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมีความเข้าใจและพร้อมช่วยกันพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาจากการเรียนรู้นอกห้องเรียน และนักศึกษาเองก็สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่พบในการทำงาน เข้าใจถึงประโยชน์ของการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนและพร้อมถ่ายทอดให้แก่รุ่นน้องต่อไป ผู้เขียนจึงได้สรุปแบบจำลองนวัตกรรมการจัดการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัยบรรษัทในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จและสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆได้อีกด้วย

 

 

 

Communication Management for Creating Innovation from Learning outside the Classroom of a Corporate University in Thailand is a lesson learnt from PIM Business Innovation Project. The author selected a Corporate University which is the best practice of combination of Learning inside the Classroom and Learning outside the Classroom. This learning methodology is to create experiences and deepening students’ working skill. It helps students to apply effectively their knowledge and skills from Learning outside the Classroom. In Thailand Executive in a Higher education organization endeavor to start Learning outside the Classroom methodology as a new education system however there are various problems and obstacles specially how to manage a communication continuously and systematically.

            In this article, the author gathered the information and interviewed executives of a corporate university who encourage Learning outside the Classroom methodology from students’ real experiences in their workplace.The University establishes an Innovation Center in a function of communication center to follow up and support students and responsible by seniors together with lecturers.Moreover Business Administration Innovation Clinic or BAIC was set up and in-charge by senior students who could share experiences and give some advice to juniors.Also the University coordinates the outside organizations which they could provide trainings for the students before their internship. The result of this study found that a Communication Management creates a mutual understanding to all stakeholders to develop students’ potentiality from Learning outside the Classroom. Students, themselves, are capable to analyze the problem from their internship experiences, understand the benefits of creating an Innovation from Learning outside the Classroom and ready to transfer their knowledge to the juniors in future. In summary, the author create a new model of Communication Management for Creating Innovation from Learning outside the Classroom of a Corporate University in Thailand. It is a successful Communication Management and beneficial to other universities.

Article Details

Section
บทความวิชาการ