ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ของวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ตฤณธวัช วงษ์ประเสริฐ
กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์  2)  เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook)  และ  3)  เพื่อศึกษาถึงผลกระทบจากการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook)  ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ  วัยทำงานในเขตกรุงเทพหานครที่มีอายุระหว่าง 22 – 59 ปี จำนวน 400  คน  ที่เคยใช้บริการงาน   เฟซบุ๊ก  (Facebook)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  คือ  ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation) วิเคราะห์การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย T-test  และ  F-test  และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Pearson Product Moment Correlation

            ผลการวิจัย  พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง  มีอายุ 40 - 49 ปี ระดับการศึกษาปริญญาโท  เป็นพนักงานบริษัท / พนักงานของรัฐ / ข้าราชการ   และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน  30,001 – 40,000  บาท   พฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook)  พบว่า  ส่วนใหญ่ใช้งาน 7 วันต่อสัปดาห์ มีการใช้งานมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน สถานที่ใช้งานและการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์   เฟซบุ๊กผู้ใช้บริการใช้ที่บ้าน / หอพัก / ที่พักอาศัย  ส่วนใหญ่ผ่านโทรศัพท์มือถือช่วงเวลาที่ใช้ 16.01 น. - 20.00 น. และพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก  (Facebook)  พบว่า  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการกดปุ่ม (Like)  เพื่อแสดงความชื่นชอบหัวข้อ, รูปภาพ, วีดีโอ, หรือโพสต์ต่างๆของเพื่อนๆ  ส่วนทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมพบว่า  มีทัศนคติที่ชอบ ได้แก่ เฟซบุ๊กเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในปัจจุบัน   ผลกระทบที่ได้จากการใช้งาน   เฟซบุ๊ก  (Facebook)  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  ในด้านทำให้เกิดการล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ได้ง่ายยิ่งขึ้น  เช่น การบันทึกรูป,  ข้อมูล  หรือนำรูป, ข้อมูล ของผู้อื่น มาเผยแพร่, โพสต์ หรือแชร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของรูปภาพหรือข้อมูลนั้น ๆ   เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผลการศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยทัศนคติในการใช้งาน เฟซบุ๊ก (Facebook)  จำแนกตาม  เพศ  อายุ  ระดับ การศึกษา อาชีพ  และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า อายุ และรายได้ต่อเดือน มีค่าเฉลี่ยทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก  (Facebook) ต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ ระดับการศึกษาและอาชีพมีค่าเฉลี่ยทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ไม่ต่างกัน ส่วนทัศนคติในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook)    มีค่าสหสัมพันธ์  r = .390  อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และผลกระทบในการใช้งาน   เฟซบุ๊ก (Facebook) โดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) ในระดับต่ำ โดยมีค่าสหสัมพันธ์ r = .196  อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ           ที่ระดับ .05

ข้อเสนอแนะควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรม  และการปรับปรุงคุณภาพเนื้อหาข้อมูล  ข่าวสาร  มีความน่าเชื่อถือ  ทันยุค ทันเหตุการณ์ และมีการคัดกรองผู้ที่ประสงค์ร้ายกับผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมทั้งควรศึกษาเปรียบเทียบการใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่น เช่น  Line, Instagram  เพราะเป็นเครือข่ายสังคมที่มีอิทธิพลในการใช้งานของผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันเช่นกัน และการศึกษาเชิงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ประเภทอื่นย่อมเกิดขึ้นได้   เพราะจากผลวิจัยในข้างต้นได้แสดงให้เห็นว่า  ทัศนคติและพฤติกรรมส่งผลต่อการใช้งานสื่อออนไลน์ในแง่มุมต่างๆ  ในเชิงต่างๆด้วยเช่นกัน

 

 

This research aims were 1) to study the demographics 2) to study the attitudes and behavior of the use on Facebook and 3) to study the impact of the use of Facebook of the working people in Bangkok. The sample in this research is working people in Bangkok, aged 22-59 years, the number of 400, which had been used services on Facebook.  This study was a questionnaire that created by the researcher. The statistics was mean, standard deviation and comparison analysis with t-test and F-test and the relationship by Pearson Correlation.

            The results showed that the most are women, aged 40-49 years, Master degree was graduated, office employee, employees of state / government. The average income per month 30,001 - 40,000 baht.  Behavior in the use of Facebook found that the most active seven days per week. It is used more than 10 times per day, the place for use and access to online social networks was at home / dorm / residence. The most was used mobile phone, during the time it takes to 16.01 hrs. -20.00 hrs. And behavior to use Facebook found that, overall are moderate, by pressing a button (Like) show favorite topic, picture, video, or any post of your friends. The attitude of the used Face book, overall, there are like, such as Facebook is an important tool to communicate with others today. The impact of the use of Facebook were high level by the abuse the easily rights of others, such as the recorded data or the picture, published data of the other, post or shared without the permission of the owner of the pictures or information. The assumption test found that the different age and income per month have different attitude to use Facebook, significantly at the 0.05 level. For overall attitude to use Facebook were relation with the behavior of use Facebook, significantly at 0.05 level. And the overall impact of the use of Facebook was low correlated with the use of Facebook, by r = .196, significantly at 0.05 level.

            Recommended, should be taken to secure the data and security in transactions. And improving the content information is reliable, up to date and events and are screened for who don't be well-intentioned to use Facebook.Including, should to study comparative the use of others social media types, such as Line, Instagram, because social networks are influencing the service.

Article Details

Section
บทความวิชาการ