วิธีการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารที่ผู้นำกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย ใช้ในการสร้างและการธำรงอยู่ของเครือข่าย รวมไปถึงศึกษาวิธีการสื่อสารภายในกลุ่มแฟนคลับ ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้นำกลุ่มและแฟนคลับผู้ติดตามจำนวน 30 คน จากศิลปิน 6 วง วงละ 5 คน แบ่งเป็นแฟนคลับ 4 คนและผู้นำ 1 คน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้นำกลุ่มเป็นผู้ส่งสารให้กับแฟนคลับผู้ติดตาม มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้นำกลุ่มเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของแฟนคลับ มักใช้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้กลุ่มแฟนคลับยังมีการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมให้แก่ศิลปิน แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างแฟนคลับในการสร้างเครือข่าย ทำให้เกิดพื้นที่ชุมชนเสมือนโดยถูกเชื่อมความสัมพันธ์ด้วยข่าวสารของศิลปินและการมีปฏิสัมพันธ์กัน อันมีผลให้ความสัมพันธ์ของผู้นำและผู้ติดตามยังคงดำรงอยู่
แฟนคลับเป็นผู้รับสารที่รู้จักศิลปินจากสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ตลอดจนกลุ่มเพื่อน จากการศึกษาพบว่า แฟนคลับมักสืบค้นข้อมูลของศิลปินจากอินเทอร์เน็ตมากที่สุด ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการติดตามศิลปินและสื่อสารกัน มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับแฟนคลับที่ติดตามวงเดียวกันด้วย ก่อให้เกิดเครือข่ายแฟนคลับและนำไปสู่การสนทนาในประเด็นต่างๆที่กว้างขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของเครือข่ายแฟนคลับในปัจจุบัน
This research is qualitative research. The purpose of this research is to study communication methods of group leader’s from each fan club to create and existence the network. In addition this research studies the communication methods within the group of fans. The researcher used the depth interview with leaders and fanclubs. The sample includes 30 people from 6 Korean pop star groups, each group 5 person. All were divided into 4 fans and 1 leader.
The result of this research found that the leader of each fanclub serves as a messenger to the other fans. Also they have more interaction with other fans. The leader is like the central figure for the fans. In addition, fanclubs also gathered to do activity for artist to show the relationship of fans to create a network creating the virtual community. They are linked by information of artist and also their interaction. The results show that the relationship of leaders and followers existed.
Fanclub serves as receivers who start by recognizing artists from mass media such as radio, TV, Internet and also friends. The study found that most of the fans search all of artist’s information on Internet. This is an advantage of the Internet to follow artist, communicate, and interact with other fans who follow the same artist. This creates the network of fans and leads to a broader discussion on various issues. This is the reflection of the current state of the fan network.
Article Details
ข้อความและความเห็นในวารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ของคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์