พะเยาทีวีชุมชน: เครือข่ายทางสังคม วาทกรรมการปฏิรูปสื่อและปฏิบัติการทางวาทกรรม
Main Article Content
Abstract
ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้คลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มาตั้งแต่พ.ศ. 2540 จนถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ระบุให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะนำมาซึ่งการออกพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่กำหนดภาคส่วนที่จะเข้าถึงและเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคทุน และภาคชุมชน (ภัทรา บุรารักษ์, 2557, น.1)
ชัยชนะแรกของภาคชุมชนภายหลังการปฏิรูปสื่อ คือ การได้ครอบครองและเป็นเจ้าของคลื่นวิทยุกระจายเสียงในนาม “วิทยุชุมชน” ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากขาดกฎ ระเบียบ และแนวทางการกำกับดูแลวิทยุชุมชนที่ชัดเจนจึงทำให้เกิดภาวะควบคุมไม่ได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาจึงเป็นบทเรียนราคาแพงที่ทำให้เกิดภาพลักษณ์ด้านลบต่อภาคชุมชนในการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่
แม้ภาครัฐส่วนใหญ่จะไม่มั่นใจในการเข้ามาถือครองคลื่นความถี่ของภาคชุมชน แต่หลายภาคส่วนในสังคมยังคงเดินหน้าเคลื่อนไหวเพื่อลดการผูกขาดสื่อโดยภาครัฐ และภาคทุนด้วยการสร้างสื่อทางเลือกและขยายแนวคิดไปสู่ช่องทางใหม่ของการสื่อสารในยุคดิจิทัลที่เรียกว่า “ทีวีชุมชน” อย่างต่อเนื่อง เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีแผนการเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเป็นดิจิทัลให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 2558 และมีแผนการกระจายการถือครองคลื่นความถี่ให้กับภาคชุมชน จึงนับเป็นโอกาสที่ชุมชนจะเข้ามาใช้คลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารในชุมชนอีกครั้ง
แต่ปัจจุบัน กสทช. ยังมิได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด อีกทั้งยังระบุว่าการพิจารณาใบอนุญาตโทรทัศน์ภาคบริการชุมชนจะเริ่มเมื่อมีการยุติระบบแอนะล็อกจากผู้ประกอบการรายเดิม และมีการจัดสรรเงินกองทุนฯ สนับสนุนและความพร้อมของภาคชุมชนว่ามีทรัพยากรที่สามารถจะดำเนินการมากน้อยแค่ไหน เพราะการดำเนินการต้องมีค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะค่าเช่าโครงข่ายสัญญาณ
ในขณะที่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม (Social Movement) ของเครือข่ายทางสังคม “พะเยาทีวีชุมชน” ที่ใช้วาทกรรมการปฎิรูปสื่อในการโต้แย้งกับวาทกรรมหลัก (Dominant Discourse) ขององค์กรรัฐที่เป็นอิสระ (กสทช.) ในเรื่องการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ โดยการสร้างเสริมศักยภาพของภาคชุมชนในการร่วมคิด ร่วมผลิตรายการเพื่อเผยแพร่ทางเคเบิลทีวีท้องถิ่นและสื่อสังคมออนไลน์ จนนำไปสู่การปลดปล่อย (Emancipatory) จากการครอบงำของอำนาจนำ (Hegemony) ของรัฐในท้ายที่สุด
Laws and regulations of broadcasting frequencies in Thailand have been changing since 1997 until 2007. The Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 (2007) specifies that the transmission frequencies for radio or television, broadcasting and telecommunication are national communication resources and public interest. Its consequences brought in an Act on Organization to Assign Radio Frequency to regulate the Broadcasting and Telecommunications Services, B.E. 2553 (2010). The act states that the three sectors of spectrum ownership must consist of government sector, business sector and community sector. (Phattar Burarak, 2014: 1)
The first victory of the community sector after media reform in Thailand was to own transmission frequencies for radio and operate radio stations known as community radio in accordance to the spirit of the constitution. However, the absence of clear regulation and monitoring led to a lack of control over community radio stations. Moreover it caused a negative image for the community sector owning the spectrums in the last decade.
The government sector is not confident in the community sector’s ability to own radio frequency. Yet it still aims to reduce the monopoly of government sector and business sector by creating an alternative media to expand the concept to a new communication channel in the digital age known as "Community TV". Meanwhile, the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC) has a plan to switchover from analogue to Digital TV. The expected implementation is the end of
Article Details
ข้อความและความเห็นในวารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ของคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์