กะเทาะแก่นอาเซียน เรียนรู้วัฒนธรรมร่วมสมัย "POP Culture"

Main Article Content

พิทักษ์ ชูมงคล

Abstract

บทวิจารณ์หนังสือนี้ผู้เขียนนำเสนอในมุมมองของผู้ที่สนใจการสื่อสาร ด้วยเห็นว่าการสื่อสารนี้เป็นกลไกสำคัญในการสร้างสำนึกร่วมอาเซียน ความเป็นพวกพ้องที่ใฝ่ฝันถึงวันที่ทั้งภูมิภาครุ่งเรืองไปด้วยกัน จะต้องอาศัยการสื่อสารเป็นกาวใจให้ทั้งอาเซียนเกิดสำนึกเป็นหนึ่งเดียวกัน ทว่าเมื่อได้เหลียวมองไปบนแผงหนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียนมากมายนี้จะพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอาเซียนกำลังถูกทำให้รับรู้ในฐานะ “คู่ค้า”และ “คู่แข่ง” ไม่ใช่ “คู่มิตร” ที่จะเกื้อกูลกัน เพราะเมื่อได้ลองจัดจำแนกประเด็นที่นักเขียนแต่ละคนนำเสนอ โดยอาศัยเกณฑ์เรื่อง 3 เสาหลักอันประกอบไปด้วย เสาหลักทางเศรษฐกิจ(ASEAN Economic Community หรือ AEC) เสาหลักด้านการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) และเสาหลักด้านสังคม-วัฒนธรรม(ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC)  จะพบว่า ประเด็นหลักที่ถูกยกขึ้นมานำเสนอ คือ ประเด็นเศรษฐกิจ ถัดมาคือ ประเด็นด้านการเมืองและความมั่นคง ส่วนประเด็นที่เกือบจะถูกลืมคือ  เสาหลักด้านสังคม-วัฒนธรรม จะเป็นเช่นไรหากคนไทยรับรู้ความเป็นอาเซียนแต่เพียงมิติเศรษฐกิจ ภาพอาเซียนในใจคนไทยที่ถูกหล่อหลอมโดยหนังสือจะทำให้อาเซียนเป็นเพียง “ตลาด” เพื่อทำการค้าเท่านั้น จินตนาการที่จะยึดโยงอาเซียนในมิติจิตใจจะหดหาย ดังนั้นประเด็นด้านสังคม-วัฒนธรรมจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ไม่อาจละเลยไปได้ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมนี้จะเป็นเสมือนสายสัมพันธ์ที่ยึดโยงให้คนไทยรับรู้ว่าบนความแตกต่างหลากหลายในอาเซียนนี้ต่างก็มีรากรอยทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน  บทวิจารณ์นี้จึงได้หยิบเอาหนังสือ กะเทาะแก่นอาเซียนเรียนรู้วัฒนธรรมร่วมสมัย “Pop Culture” ขึ้นมานำเสนอให้ผู้อ่านได้พิจารณาถึงมิติวัฒนธรรมที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านเศรษฐกิจเลย โดยนำเสนอใน 4 ประเด็นด้วยมุมมองการสื่อสาร คือ 1) สาระสำคัญในหนังสือกะเทาะแก่นอาเซียนฯ 2) กะเทาะเนื้อหาด้วยมุมมองการสื่อสาร 3) กะเทาะเนื้อหาด้วยทฤษฏีการสื่อสารและ 4) กะเทาะประเด็นการวิจัยการสื่อสาร

Article Details

Section
บทวิจารณ์หนังสือ