การพัฒนาสติ๊กเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดอาเซียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ขององค์การบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์
พรปภัสสร ปริญชาญกล
จิราภรณ์ ไพบูลย์นภาพงศ์
ชนิกานต์ ปฏิทัศน์
ธัญญริญญ์ พวัสส์คงสิน

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความต้องการและพัฒนาสติ๊กเกอร์บน                    แอปพลิเคชันไลน์ชุดอาเซียน เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ขององค์การ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อหาคุณภาพของรูปแบบสติ๊กเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง  โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ พนักงาน บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยเป็นผู้ที่เคยใช้งานแอปพลิเคชันไลน์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการสติ๊กเกอร์ บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดอาเซียนมากที่สุด (ร้อยละ 64.00) โดยรูปแบบแสดงอารมณ์ของตัวการ์ตูน ต้องการแบบตกใจเป็นลำดับแรก (ร้อยละ 34.00) รูปแบบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ต้องการแบบเที่ยวเดินทาง เป็นลำดับแรก (ร้อยละ 38.00)และรูปแบบคำพูด ต้องการแบบคำทักทายเป็นลำดับแรก (ร้อยละ 44.00) โดยผลจากการสำรวจความต้องการ ผู้จัดทำได้พัฒนาสติ๊กเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดอาเซียน เพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ขององค์การ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ขึ้น   ซึ่งผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดี (\bar{x}  = 4.19, S.D. = 0.49) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดี ( \bar{x} = 4.38, S.D. = 0.55)  และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบสติ๊กเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ อยู่ในระดับมาก(\bar{x} = 4.28, S.D. =  .62)  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ ดังนั้นสติ๊กเกอร์บนแอปพลิเคชันไลน์ชุดอาเซียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ขององค์การ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)  ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ได้

 

The objectives of this research were to explore the demand and develop the sticker characters on application Line Entitled “ASEAN” for Public Relations the Image of  MCOT Public Company Limited , to find sticker characters quality and satisfaction of sample. The sample of the survey were held by the employees of the MCOT Public Company Limited who did in a survey on random people who were using Line application for at least 1 years. The result showed that, the sample demanded the sticker characters on application Line Entitled “ASEAN”  the most (64.00%)       The demand to the scared format in the emotions of characters type was the first (34.00%). The demand to the travel format in the activities of daily life type was the first (38.00%) . The demand to the greeting format in the conversation type was the first (44.00%) .The quality of content sticker characters was based on the degree of good (\bar{x}  = 4.19, S.D. = 0.49). The media presentation result, was based on the degree ofgood )\bar{x}  = 4.38, S.D. = 0.55) .The satisfaction result was based on    the degree of high (\bar{x}  = 4.28, S.D. = 0.62. It could be concluded that,  these sticker characters on application Line Entitled “ASEAN” can be applied to use high quality for public relations and supported the organization image.

Article Details

Section
บทความวิชาการ