การรับรู้และทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติในประเทศไทย

Main Article Content

วลีรัตน์ อักษรดี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย 2. ศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทย 3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยโดยใช้ระเบียบวิจัย 2 แบบคือการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบสารและภาพประกอบเกี่ยวกับสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติตามสื่อที่ผู้วิจัยเลือกมา คือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อนอกบ้าน ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ  และโรงแรมในท้องถิ่น ที่ปรากฏในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2557  รวมระยะเวลา 6 เดือน และใช้การวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ  จำนวน 400 คน

ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยใช้แผ่นพับ โปสเตอร์เตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิ ใช้เว็บไซต์ E-mail Twitter และ ป้ายเตือนภัยสึนามิ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติใช้บทความในหนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ Email Twitter  โรงแรมท้องถิ่นใช้แผ่นพับ ใช้เว็บไซต์ E-mail  Facebook Twitter Instagram Blog เช่น Tumblr และMobile application for IPhone& Androids และผลวิจัยเชิงปริมาณ พบว่านักท่องเที่ยวต่างชาติมีการรับรู้ต่อสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยในระดับดี และนักท่องเที่ยวต่างชาติ มีทัศนคติต่อสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติในระดับปานกลาง  การรับรู้และทัศนคติต่อของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก

 

The objectives of this research are to study tourists’ perception, attitude as well as the correlation between tourists’ perception and attitude towards public relations media for natural disaster warning in Thailand. The research is examined by collecting data from public relations media for natural disaster warning of Department of Disaster Prevention and Mitigation, the National Warning Disaster Center and local hotels, which appeared during March-August 2014.  A survey analysis is conducted by distributing a questionnaire to a sample group of 400 tourists. The result is analyzed by using deductive statistics and Pearson allied coefficients.  

The result   shows that Department of Disaster Prevention and Mitigation uses Tsunami warning brochures, posters, website for foreigners, Youtube, Twitter and Tsunami warning signs. The National Warning Disaster Center uses articles in newspaper, website, email, Youtube and Twitter. Local hotels use brochures, website, email, Twitter, Facebook, blog such as Tumblr and the mobile application for IPhone and Androids. From a survey, the result shows that tourists perceive highly about public relations media for natural disaster warning. The level of attitude towards public relations media for natural disaster warning is moderate. Tourists’ perception is positively correlated with attitude towards public relations media for natural warning disaster.

Article Details

Section
บทความวิชาการ